วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Jour de l'an

Jour de l'an

Le Jour de l'an[1] ou Nouvel An[1] est le premier jour de l'année d'un calendrier donné.Par extension le terme désigne aussi les célébrations de ce premier jour de l'année.Pour les calendriers solaires (comme le calendrier grégorien), la date du Jour de l'an est fixe d'une année sur l'autre, alors qu'elle est dite mobile dans le cas des calendriers luni-solaire (comme le calendrier chinois).
Origines
Le Nouvel An est une fête d'origine païenne qui vit le jour vers 46 avant notre ère, sous l'impulsion de Jules César. Celui-ci décida que le 1er janvier serait le Jour de l'an. Les Romains fêtaient le Nouvel An selon le calendrier julien, encore utilisé aujourd'hui par les églises orthodoxes serbe et russe. Les Romains dédiaient ce jour à Janus, dieu païen des portes et des commencements. Le mois de janvier doit son nom à Janus, qui avait deux visages : l'un vers l'avant, l'autre vers l'arrière.En France, le Jour de l’an n’a pas toujours été le 1er janvier : la nouvelle année commence à cette date depuis 1564. C’est le roi Charles IX qui, dans un édit promulgué à Roussillon le 9 août 1564, fixa le début de l’année au 1er janvier. Pour les peuples usant du calendrier solaire, le Jour de l’an a beaucoup changé au fil des siècles, au gré des Églises, des époques et des pays.
En France, aux
VIe et VIIe siècles, dans de nombreuses provinces, le Jour de l’an était célébré le 1er mars. Sous Charlemagne, l’année commençait à Noël. Du temps des rois capétiens, l’année débutait le jour de Pâques. En conséquence, les années étaient de longueur très variable. Cet usage fut quasi général aux XIIe et XIIIe siècles et même jusqu’au XVe dans certaines provinces. Les généalogistes des rois de France devaient donc jongler avec les dates en fonction des lieux pour raconter l’Histoire car auparavant le début de l’année variait selon les provinces : à Lyon, c’était le 25 décembre, à Vienne, le 25 mars… L’édit de Charles IX mit tout le monde d’accord.En 1622, cette mesure fut généralisée par le Pape à l’ensemble du monde catholique, notamment pour simplifier le calendrier des fêtes religieuses.

Noël

Noël




Noël est une fête chrétienne célébrant chaque année la naissance de Jésus de Nazareth, appelée Nativité. À l'origine de cette fête existaient différentes fêtes païennes qui marquaient le solstice d'hiver.
Sa célébration à la date du
25 décembre, se situe dans le calendrier julien pour les Églises orthodoxes, et dans le grégorien pour l'église catholique et protestante ; le jour de la saint Emmanuel, a été fixée tardivement dans l'empire romain d'Occident, vers le milieu du IVe siècle. Avant de la placer à la date d'une célébration solaire liée au solstice d'hiver[1], plusieurs dates furent proposées : 18 novembre, 6 janvier... Le 25 décembre marquait depuis Aurélien (v.270) l'anniversaire du Sol Invictus et de la renaissance annuelle de Mithra[2]. Pour des raisons symboliques, et dans un souci de christianiser les anciennes fêtes païennes, cette date fut progressivement étendue à tout l'Occident latin. Les Églises orthodoxes, qui ont conservé suivent le calendrier julien, célèbrent Noël le 25 décembre du calendrier julien ce qui donne comme date selon le calendrier Grégorien le 6 janvier, mais seule l'Église apostolique arménienne a conservé la date précise du 6 janvier comme jour de la fête de Noël[3].
Constituant avec
Pâques une des grandes fêtes chrétiennes, Noël s'est progressivement chargé de traditions locales, mélanges d'innovations et de maintien de folklore ancien, au point de présenter l'aspect d'une fête profane populaire possédant de nombreuses variantes, dans le temps comme dans l'espace. L'association de la mémoire d'une naissance a facilité la place centrale prise par la famille dans le sens et le déroulement de cette fête. L'Église catholique romaine insiste par exemple sur cet aspect depuis l'instauration en 1893 de la fête de la Sainte Famille, le dimanche suivant le 25 décembre. Les cadeaux, sous forme d'étrennes, semblent être une réminiscence des cadeaux effectués lors des fêtes saturnales de décembre (strenae)[4] Le don est présent dans de nombreuses traditions, comme celle de servir un repas au premier pauvre croisé au jour de Noël, ou dans l'exceptionnelle générosité des aumônes accordées aux mendiants à la sortie de l'office célébré durant la nuit de Noël. « La période de Noël, qui est très chargée cérémoniellement, possède une certaine intensité rituelle. Même si nous vivons fondamentalement dans une société marchande, il y a dans cet échange de cadeaux quelque chose qui est de l'ordre du don et qui est universel dans son principe: ils créent, maintiennent et consolident des liens ; ils constituent en quelque sorte une matrice du social.»[5].
La popularité de cette fête a fait que
Noël est devenu un patronyme et un prénom.

Fête des Pères

Fête des Pères
Histoire
Dans les pays catholiques, on a célébré les pères de famille dès le moyen-âge le 19 mars, jour de la Saint-Joseph, ce dernier étant le père putatif de Jésus. En revanche, il était beaucoup plus difficile de célébrer religieusement les mères, les fêtes dédiées à la celle de Jésus étant aussi des célébrations de la virginité. L'une des premières fêtes des pères non religieuses fut créée en 1912 aux États-Unis. En France, elle fut fixée par un décret de 1952 au troisième dimanche de juin ; ceci pour faire écho à la Fête des Mères, instituée par Vichy et confirmée par un décret de 1950.

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นิติศาสตร์

นิติศาสตร์


นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่ามีกฎหมายเป็นวัตถุของการศึกษา ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ได้ใช้คำภาษาอังกฤษแทนวิชานิติศาสตร์ว่า "science of law"

การศึกษานิติศาสตร์

วิชานิติศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงได้ตามแง่มุมที่ศึกษา ซึ่งอาจสามารถแบ่งออกได้เป็น
วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (legal science proper) ได้แก่ การศึกษาตัวบทกฎหมายซึ่งเป็นเนื้อหากฎหมาย และนิติวิธีหรือวิธีการใช้กฎหมายเพื่อนำไปใช้ปรับใช้แก่คดีและประกอบวิชาชีพนักกฎหมาย นิติศาสตร์ทางข้อเท็จจริง (legal science of facts) เป็นการศึกษากฎหมายในฐานะที่เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์หรือในสังคม โดยไม่ประเมินคุณค่าว่าถูกหรือผิด เช่น วิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย และวิชาสังคมวิทยากฎหมาย นิติศาสตร์เชิงคุณค่า (legal science of values) เป็นการศึกษากฎหมายในเชิงวิจารณ์เปรียบเทียบและประเมินคุณค่า เช่น วิชากฎหมายเปรียบเทียบ และวิชานิติบัญญัติ การศึกษากฎหมายในระดับที่มีความสัมพันธ์กับปรัชญา จะถูกเรียกว่าวิชา
นิติปรัชญา หรือ philosophy of law

หลักนิติศาสตร์

หลักนิติศาสตร์ (Jurisprudence) คำดังกล่าวในภาษาอังกฤษ เป็นคำเก่าที่ใช้ตั้งแต่สมัยโรมัน โดยมาจากภาษาลาตินว่า jurisprudentium มีรากศัพท์จาก "juris" แปลว่า กฎหมาย และ "prudntium" แปลว่า ความฉลาด ซึ่งรวมแล้วแปลว่า "ความรู้กฎหมายหรือวิชากฎหมาย" โดยในประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน จะกล่าวไว้ในมูลบทนิติศาสตร์ฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วว่า "jurisprudence is the knowledge of things devine and human; the science of the just and the unjust".อย่างไรก็ตาม jurisprudence ยังคงมีการใช้ในความหมายพิเศษอีก ได้แก่ Jurisprudence ในภาษาฝรั่งเศส ย่อมาจากคำว่า jurisprudence constant หมายถึง ความรู้กฎหมายที่เกิดจากแนวคำพิพากษาของศาล เป็นคำตรงข้ามกับ doctrine ซึ่งหมายถึง กฎหมายที่สอนในตำรากฎหมาย Jurisprudence เป็นชื่อวิชาเฉพาะที่สอนในโรงเรียนกฎหมายในอังกฤษ ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดย John Austin เมื่อ ค.ศ. 1828-1832 ในมหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งมีคำสอนว่ากฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ และถูกนำเข้ามาในประเทศไทยโดยเสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง "โรงเรียนกฎหมาย" ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเปิดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ ต่อมา จึงมีการยุบโรงเรียนกฎหมายไปจัดตั้งเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากนั้นเพียง 8 เดือน นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเดิม ไม่พอใจที่ทำไมโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย แต่ทำไมโรงเรียนกฎหมายจึงไม่ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบ้าง ดร.ปรีดี พนมยงค์ จึงรับปากว่าจะช่วย และในที่สุดจึงมีการออกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ปัจจุบัน คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงอาจกล่าวได้ว่าการโอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการโอนไปเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อันสืบทอดโดยตรงจากโรงเรียนกฎหมายเดิม และเมื่อปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดการเรียนการสอนนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งใน คณะรัฐศาสตร์ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2515 และมีการก่อตั้ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ในหลายสถาบันทั้งในภาครัฐและเอกชน

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ASEAN DIARY : ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน


การประชุมผู้นำรัฐสมาชิกอาเซียน เรียกเป็นทางการว่า "ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน" ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "ASEAN SUMMIT" จัดขึ้นโดย สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ถูกตั้งขึ้นเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งการประชุมอาเซียนนั้น จะมีผู้นำแต่ละประเทศเข้าร่วมประชุม เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของกลุ่มประเทศอาเซียน คำว่า "SUMMIT" เป็นภาษาอังกฤษ หมายถึง จุดปลายสุดของยอดเขา ความสำเร็จสูงสุดของกิจการหรือกิจกรรมใดๆ แต่ในทางรัฐศาสตร์ แต่คำว่า "SUMMIT" หมายถึง การประชุมระดับสูงสุดของผู้นำรัฐบาล หรือผู้นำสูงสุดขององค์กรใดๆ ที่จัดการประชุม
ประวัติความเป็นมา
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ก่อตั้งปฏิญญากรุงเทพมหานคร (Bangkok Declaration) ขึ้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีจาก 5 ประเทศ ได้แก่ ... นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ประเทศมาเลเซีย นายนาชิโช รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย การก่อตั้งดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธํารงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง สร้างสรรคค์ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดี บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน ต่อมากลุ่มอาเซียนก็มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก โดย บูรไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกในลําดับที่ 6 เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2527 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลําดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2538 และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกัน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540 ต่อมา กัมพูชา ก็เข้าเป็นประเทศสมาชิกเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2542 ทําให้ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ สถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เปลี่ยนผ่านจากสภาวะแห่งความตึงเครียด และการเผชิญหน้า มาสู่สภาวะที่มีเสถียรภาพ ความมั่นคงและความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด จนกลายเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเป็นตัวอย่างของการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีบทบาท และพลังต่อรองในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทําให้มีประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น และมีหลายประเทศในโลกสนใจที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์และกระชับความร่วมมือกับอาเซียนในฐานะคู่เจรจา (Dialogue Partner)
ซึ่งในปัจจุบันอาเซียนมีคู่เจรจา 9 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, แคนาดา, ญี่ปุ่น, นิวซีแลนด์, สหรัฐอเมริกา, สาธารณรัฐเกาหลี, อินเดีย, สาธารณรัฐประชาชนจีน, รัสเซีย และ 1 กลุ่มประเทศ คือ สหภาพยุโรป รวมทั้ง 1 องค์การระหว่างประเทศ คือ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) โดยอาเซียนกับคู่เจรจาเหล่านี้จะมีการปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในลักษณะการประชุมระดับเจ้าหน้าที่และการประชุมระดับรัฐมนตรี ความก้าวหน้าของอาเซียนดังกล่าว มีปัจจัยที่สําคัญจากความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างประเทศสมาชิก อันก่อให้เกิดบรรยากาศที่สร้างสรรค์ต่อความร่วมมือ และความเข้าใจอันดีต่อกัน โดยความร่วมมือในอาเซียน ที่สําคัญๆ ได้แก่...
ความร่วมมือทางการเมือง
อาเซียนตระหนักดีว่า ภูมิภาคที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง และความเป็นกลางจะเป็นพื้นฐานสําคัญ ที่ส่งเสริมการพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้า จึงได้ร่วมกันสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และสร้างเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันในระหว่างประเทศสมาชิก ผลงานที่สําคัญที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ คือ สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) การประกาศให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality: ZOPFAN ) การก่อตั้งการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF) และ สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty: SEANWFZ)
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ปรากฏการณ์ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลก และการแข่งขันทางการค่าที่เพิ่มมากขึ้น เป็นปัจจัยสําคัญที่ผลักดันให้อาเซียนตระหนักถึงความจําเป็นที่จะต่องรวมตัวกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อปรับแนวการดําเนินนโยบายของตนให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในปี พ.ศ.2535 อาเซียนจึงได้ตกลงจัดตั้งเขตการค่าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ขึ้น เพื่อที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกัน โดยการลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าส่งออกของกันและกัน และดึงดูดการลงทุนจากภายนอกภูมิภาคให้เข้ามาลงทุนในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น เขตการค่าเสรีอาเซียนนี้จะบรรลุผลสมบูรณ์สําหรับสมาชิก 6 ประเทศแรกใน พ.ศ.2546 ตามด้วยเวียดนาม ในปี พ.ศ.2549 ลาวและพม่า ใน พ.ศ.2551 และกัมพูชาใน พ.ศ.2553 นอกจากนี้ อาเซียนยังได้มีมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการค้าการลงทุน และความร่วมมือกันในด้านอุตสาหกรรม การเงินและการธนาคาร และการบริการระหว่างกัน ที่สําคัญ ได้แก่ โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation: AICO ) และ เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA ) เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อให้อาเซียนเติมโต มีความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และมีความมั่งคั่งร่วมกัน อาเซียนจึงได้มีข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI ) ขึ้น เพื่อที่จะลดช่องว่างทางการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่ของอาเซียนด้วย
ความร่วมมือเฉพาะด้าน
นอกจากความร่วมมือทางการเมือง และเศรษฐกิจแล้ว อาเซียนยังให้ความสําคัญต่อความร่วมมือเฉพาะด้าน (Functional Cooperation) ระหว่างประเทศสมาชิก ได้แก่ ความร่วมมือในด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการต่อต้านยาเสพติด ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานที่สําคัญในการพัฒนาประเทศ โครงการความร่วมมือเฉพาะด้านระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนนี้มีจํานวนมาก และครอบคลุมในทุกด้าน และมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาคมอาเซียนมี "ความไพบูลย์ร่วมกัน โดยการพัฒนาคน ความสามารถ ในการแข่งขันทางเทคโนโลยี และความเป็นปึกแผ่นทางสังคม" โครงการความร่วมมือที่สําคัญในด้านนี้ ได้แก่ การจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน การประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติด ในปี พ.ศ.2558 แผนการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการอาเซียนเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ และการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งทั่วทั้งภูมิภาค เป็นต้น นอกจากนี้ อาเซียนยังได้จัดตั้งมูลนิธิอาเซียน เพื่อเสริมสร้างจิตสํานึกในความเป็นอาเซียน และพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน
วัตถุประสงค์
ปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ
1. เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค
2. ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่ง กฎบัตรสหประชาชาติ
ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ใน พ.ศ.2540 (ค.ศ.1997) ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง "วิสัยทัศน์อาเซียน 2020" (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน
พ.ศ.2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายใน พ.ศ.2563 ต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายใน พ.ศ.2558

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

LES PRONOMS PERSONNELS : Le pronom "le"

LES PRONOMS PERSONNELS : Le pronom "le" [คำสรรพนาม]
คำสรรพนาม ใช้อ้างถึง หรือ แทนที่ คำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ หรือ สิ่งของ เพื่อหลีกเลี่ยงการซํ้าคำนามนั้นๆ
คำสรรพนามจะเปลี่ยนรูปไปตามหน้าที่ของมัน โดยทำหน้าที่เป็น ประธาน [pronom sujet] หรือ กรรม [pronom complément]
Le pronom "le" : เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทน ส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยค หรือ ทั้งประโยค :
- Tu crois qu' il va faire beau aujourd' hui ? (เธอคิดว่าวันนี้อากาศจะดีไหม)
+ Oui, je le crois. [le = qu' il va faire beau aujourd'hui] (ใช่ ฉันเชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้น )
- Vous êtes fatiguée, je le vois. [le = que vous êtes fatiguée] (คุณเหนื่อย ...ฉันเห็นเช่นนั้น )
- Florence va se marier le mois prochain, elle le dit à tout le monde. [le = qu' elle va se marier le mois prochain] (ฟลอรองซ์จะแต่งงานเดือนหน้า ... หล่อนบอกเรื่องนี้กับทุกคน)
* le หรือ l' สามารถแทนคำนามหรือคำคุณศัพท์ที่มีโครงสร้างใช้กับ verbe être :
- Elle est en colère ? Ah oui, elle l' est vraiment. [l' = en colère] (หล่อนโกรธเหรอ ... โอ้! หล่อนโกรธจริงๆด้วย)
- Je ne suis pas prêt mais je le serai dans cinq minutes. [le = prêt] (ฉันยังไม่พร้อม แต่อีกห้านาทีจะพร้อม)

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

หน้ายิ้ม สไตล์ญี่ปุ่น

(^_^) ยิ้มธรรมดา
(^ ^) อมยิ้ม
(*^ _^*) ยิ้มแบบมีประกาย
(^0^) / ยกมือขึ้นแล้วร้อง “ว้าว”
(>_<) โอวช์ เจ็บจัง (ใช้ตอนผิดหวังก็ได้)
p(^ ^)q ขอให้โชคดีนะ
(T_T) ร้องให้น้ำตาไหลพรากๆ
(-_-)ZZZ ราตรีสวัสดิ์
(._.?) ผมไม่เข้าใจจริงๆ ครับ
(^_^)V สู้ตายค่ะ (ชนะแล้ว)
(P_-) ส่องแว่นขยายดูสิ ปิดบังอะไร
(^^)// เก่งจัง ปรบมือให้หน่อย
(^-^)b เห็นด้วยไม๊ ?
(-_-) ไม่พอใจนะ แต่ไม่แสดงออก
(^_^;) ประหลาดใจจนไม่รู้จะพูดออกไปยังไง
(._. )( ._.) กำลังหาอะไรอยู่ล่ะ ?
((((((^_^;) ไม่สะดวกใจที่จะอยู่ตรงนั้น(อยากจะไปแล้ว)
(>_< )( >_<) ปฏิเสธอย่างรุนแรง(ส่ายหน้าไปมา)
( ^_^)/U*U\(^_^ ) ไชโย ชนแก้วกันดีกว่า
m ( _ _ ) m เสียใจจริงๆ ได้โปรดให้อภัยผมด้วย
o (^_-) O นี่แน่ะ ชกซะเลย
(^3^) – Chu!! ขอจ๊วบดังๆ ทีนะ
(^.^)/~~~ โบกผ้าเช็ดหน้าพร้อมกับกล่าวลาก่อน
(;_;)/~~~ กล่าวอำลาโบกผ้าเช็ดหน้าพร้อมน้ำตา
(-.-)y-.o0O สูบบุหรี่อย่างผ่อนคลาย (แต่ว่าตายผ่อนส่งนะจ๊ะ)
(^_-)-* กระพริบตาเจ้าค่ะ
(^_-)db(-_^) เกี่ยวก้อยสัญญากันนะ
(/^o)/(/o^)/ มาเต้นกันดีกว่า
(=^.^=) แมวค่ะ
~~~~~(m--)m ผีมาแล้ว...

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

LES PRONOMS PERSONNELS : Les pronoms toniques

LES PRONOMS PERSONNELS
: Les pronoms toniques
[คำสรรพนาม]
คำสรรพนาม ใช้อ้างถึง หรือ แทนที่ คำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ หรือ สิ่งของ เพื่อหลีกเลี่ยงการซํ้าคำนามนั้นๆ
คำสรรพนามจะเปลี่ยนรูปไปตามหน้าที่ของมัน โดยทำหน้าที่เป็น ประธาน [pronom sujet] หรือ กรรม
[pronom complément]
Les pronoms toniques : เป็นคำสรรพนามที่อ้างถึงหรือระบุถึง "บุคคล"

Je - moi
Tu - toi
Il - lui
Elle - elle
On - soi
Nous - nous
Vous - vous
Ils - eux
Elles - elles
การใช้ :
1. เมื่อมีเพียงสรรพนามอย่างเดียว :
- Qui veut une glace ? => Moi ! (ใครต้องการไอศครีมบ้าง) => (ฉัน) => Toi ? => (เธอใช่ไหม)
2. หลัง " C' est " ," Ce sont " :
- Qui veut une glace ? => C' est moi ! => C' est toi ?
** [C' est moi, C' est toi, C' est lui, C' est elle, C' est nous, C' est vous, C' est eux, C' est elles]
** [Ce sont eux, Ce sont elles (เป็นทางการ)]
3. ตามหลัง บุพบท (préposition) :
- Tu viens avec moi ? (เธอไปกับฉันไหม)
- Elle va chez elle. (หล่อนไปบ้านของหล่อน)
4. วางหน้าสรรพนามที่เป็นประธาน หรือ ตามหลังทันทีคำนามที่เป็นประธาน หรือ วางท้ายประโยค เพื่อ เน้นประธาน :
- Moi, j' aime le français. Toi, tu aime l' anglais. Lui, il aime l' histoire. (ฉัน, ฉันชอบภาษาฝรั่งเศส เธอ, เธอชอบภาษาอังกฤษ เขา, เขาชอบประวัติศาสตร์)
- Les enfants, eux, aiment les jeux vidéo. (พวกเด็กๆ เขาชอบวิดีโอเกมส์)
- On part ce soir, nous ! (พวกเรา, เราออกเดินทางคํ่านี้)
5. ในประโยคเปรียบเทียบ (comparatif) :
- Elle est plus jeune que moi ! (หล่อนเป็นเด็กกว่าฉัน)
6. เมื่อเราไม่ต้องการซํ้าคำกริยา :
- J' aime ce film. Et toi ? => Moi aussi ! (ฉันชอบหนังเรื่องนี้ แล้วเธอล่ะ) => (ฉันก็เหมือนกัน)
- Je n' aime pas cette couleur. Et toi ? => Moi non plus ! (ฉันไม่ชอบสีนี้ แล้วเธอล่ะ) => (ฉันก็ไม่เหมือนกัน)
7. กับ "même" เพื่อ เน้นหรือยํ้าว่า "ด้วยตนเอง" (= myself, yourself, himself, herself, ourselves, themselves)
- J' ai fait moi-même ce gâteau ! (ฉันทำขนมเค๊กนี้ด้วยตัวฉันเอง)
- Nous allons faire ce travail nous-mêmes ! (เราจะทำงานนี้ด้วยตัวเราเอง)
** เมื่อประธานเป็น On, Chacun, Tout le monde ... สรรพนามที่ใช้ตามหลังบุพบทคือ "soi" :
- On doit toujours avoir un papier d' identité sur soi. (เราต้องมีเอกสารที่แสดงว่าเป็นตัวเราติดตัวอยู่เสมอ)
- Après la classe, tout le monde rentre chez soi. (หลังเลิกเรียน ทุกคนก็กลับบ้านของตน)
- Chacun pour soi ! (ตัวใครตัวมัน !)

L'interrogation directe

L'interrogation directe คือการถามแบบตรง แบ่งออกเป็น :
La question portant sur toute la phrase : [ถามทั้งประโยค โดยคำตอบจะเป็น "oui", "non" หรือ "si" ]
- Paul : "Est-ce que tu aimes la musique classique ?" ---> Paul demande à Sophie si elle aime la musique classique.- La mère : "Tu ne vas pas à l'école aujourd'hui ?"---> Ma mère me demande si je ne vais pas à l'école aujourd'hui.- Prangsaï : "Aï-Rada, tu veux bien m'aider pour mes devoirs ?"---> Prangsaï veut savoir si Aï-Rada veut bien l'aider pour ses devoirs.- Wararat : "Est-ce que je vais réussir à l'examen de français ?"---> Wararat se demande avec inquiétude si elle va réussir à l'examen de français.
La question portant sur une partie de la phrase : [ถามส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยค ด้วยคำที่ใช้ตั้งคำถาม (mot interrogatif) เช่น Qui, Quand, Comment, Pourquoi, Où, ...]
- Le professeur : "Pourquoi apprenez-vous le français ?"---> Le professeur demande à ses élèves pourquoi ils apprennent le français.- Le père à Ratikorn : "Qui t'a téléphoné ?" ---> Son père lui demande qui lui a téléphoné. - Un touriste à un passant : "Où est la gare, s'il vous plaît ?"---> Un touriste veut savoir où est la gare. - Un Français : "À quelle heure commence l'école en Thaïlande ?"---> Il veut savoir à quelle heure l'école commence en Thaïlande.
La question avec " Qu'est-ce qui ... ? " : [คำถามที่ถามว่า "อะไร" (ทำหน้าที่ประธาน)] เราจะใช้ " ce qui " = สิ่งที่ซึ่ง ในการเชื่อมประโยค :
- Souchada : "Qu'est-ce qui se passe ?" "Pourquoi ris-tu ?"---> Souchada demande à Thannmaporn ce qui se passe et pourquoi elle rit.- Nathienat : "Qu'est-ce qui te plaît dans cette école, Yaem ?" ---> Nathienat veut savoir ce qui plaît à Yaem dans cette école.
La question avec " Qu'est-ce que ... ? " : [คำถามที่ถามว่า "อะไร" (ทำหน้าที่กรรม)] เราจะใช้ " ce que " = สิ่งที่ซึ่ง ในการเชื่อมประโยค :
- Pattaraporn : "Qu'est-ce que tu fais dimanche ?" ---> Pattaraporn demande à Phasika ce qu'elle fait dimanche.- Kanntarat : "Que penses-tu de mon nouveau portable, Chonlada ?"---> Kanntarat demande à sa copine ce qu'elle pense de son nouveau portable.

Les relatifs

Les relatifs ใช้ในการเชื่อมโยงประโยค หรือ ข้อความเข้าด้วยกัน เพื่ออธิบาย หรือขยายความให้ชัดเจนขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยง การกล่าวถึง คำนามนั้นซ้ำอีก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท :
- Les relatifs simples : ได้แก่ qui, que, dont, où
« Qui » แทนที่คำนาม ทั้งคน สัตว์ และ สิ่งของ โดยทำหน้าที่เป็นประธาน ในประโยคที่สอง
- Je regarde une fille ; cette fille est mignonne.---> Je regarde une fille qui est mignonne.- Le TGV est un train rapide. Il roule à 300 km / h.---> Le TGV est un train rapide qui roule à 300 km / h.- Paris est une ville. Elle change tout le temps. Et elle reste toujours la même.---> Paris est une ville qui change tout le temps et qui reste toujours la même.- La femme porte une robe. La femme parle. La robe est en soie.---> La femme qui parle porte une robe qui est en soie.
« Que » แทนที่คำนาม ทั้งคน สัตว์ และ สิ่งของ โดยทำหน้าที่เป็นกรรมตรง ในประโยคที่สอง
- Je regarde une fille. Je connais bien cette fille.---> Je regarde une fille que je connais bien.- Le français est une matière. J'aime cette matière le plus.---> Le français est la matière que j'aime le plus.- La jupe est en jean. Elle porte très souvent cette jupe.---> La jupe qu'elle porte très souvent est en jean.
« Dont » แทนที่คำนาม ทั้งคน สัตว์ และ สิ่งของ ในโครงสร้าง ที่คำกริยามี préposition " de " นำหน้าคำนาม [รวมถึงแสดงความเกี่ยวโยงการเป็น "เจ้าของ" ของคำนามในประโยคที่หนึ่ง ต่อคำนามในประโยคที่สอง]
- La vie est paisible. Je rêve de cette vie.---> La vie dont je rêve est paisible.- Le film a reçu un grand prix au festival de Cannes. Je t'ai parlé de de ce film la semaine dernière.---> Le film dont je t'ai parlé la semaine dernière a reçu un grand prix au festival de Cannes.- « Il me restera. » est une chanson. J'adore la musique de cette chanson.---> « Il me restera. » est une chanson dont j'adore la musique.
« Où» เป็น adverbe แทนคำนาม ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนขยาย บอก "ภายในสถานที่นั้น" หรือ "ในช่วงเวลานั้น" ในประโยคที่สอง
- Le quartier est très agréable. J'habite dans ce quartier.---> Le quartier où j'habite est très agréable.- Le dimanche est un jour. Beaucoup de magasins sont fermés ce jour.---> Le dimanche est un jour où beaucoup de magasins sont fermés. - Rachinie Bourana est une école de jeunes filles. Beaucoup de jeunes filles de la ville de Nakhonpathom étudient dans cette école.---> Rachinie Bourana est une école de jeunes filles où beaucoup de jeunes filles de la ville de Nakhonpathom étudient.
« ce qui », « ce que », « ce dont » ใช้แทนที่ « la chose qui / que / dont » = สิ่งที่ซึ่ง :
- Ce qui me plaît chez toi, c'est le sourire, ce sont tes yeux...- Elle aime tout ce qui est beau.
- Ce que j'aime chez toi, c'est le sourire, ce sont tes yeux...- Je sais ce qu'elle aime.
- Ce dont j'ai besoin maintenant, c'est d'un café fort.- Dis-moi ce dont tu as envie.
« C'est .......qui / que ... », « Ce sont ........ qui / que ... » : เพื่อที่จะเน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง (mettre en valeur) เราใช้ « C'est » หรือ « Ce sont » นำ และตามด้วย « qui » (เมื่อเป็นประธาน) หรือ « que » (เมื่อเป็นกรรมตรง) :
- C'est Prangsaï qui est la seule danseuse de la classe 5/6 alors que Jitsoupang, Phanphimon et Nisa sont dans la classe 5/7.- C'est elle que tu veux voir ?- C'est moi qui suis votre professeur de français.- Ce sont eux qui ont la responsabilité du service. - Ce sont ces fleurs que je veux avoir chez moi.
- Les relatifs composés : ได้แก่ lequel, laquelle, lesquels, lesquelles

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Le conditionnel passé

Le conditionnel passé
รูปแบบ (la forme) :
» เราสร้าง conditionnel passé โดยการใช้กริยาช่วย " avoir " หรือ " être " ในรูป conditionnel présent ตามด้วย participe passé ของกริยาที่ต้องการ :
• Conditionnel passé = avoir หรือ être (conditionnel présent) + participe passé :
การใช้ (l'emploi) :
1. เพื่อแสดงความเสียดาย, เสียใจ หรือ การตำหนิติเตียน กับเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้ว :
- Elle aurait aimé apprendre l'allemand. [หล่อนอยากที่จะเรียภาษาเยอรมัน](เหตุการณ์ผ่านไปแล้ว และหล่อนก็ไม่ได้เรียน)
- J'aurais voulu être steward dans une compagnie aérienne. [ฉันอยากเป็นสจ๊วตสายการบิน]
- Tu aurais dû travailler davantage. [เธอน่าจะขยันกว่านี้]
2. ใช้ในประโยคสมมุติในอดีตที่ไม่เป็นจริง หรือ ตรงข้ามกับความเป็นจริงในอดีต :
• Si + plus-que-parfait / conditionnel passé :
- Si j'avais su (que la fête allait être si ennuyeuse), je ne serais pas venu(e). [ถ้าฉันรู้ว่างานฉลองจะน่าเบื่อเช่นนี้ ฉันคงจะไม่มาหรอก]
- Elle aurait pu continuer ses études à la faculté des lettres si elle avait travaillé plus dur et plus régulièrement. [หล่อนคงจะได้เรียนต่อในคณะอักษรศาสตร์แล้วถ้าหล่อนเรียนหนักและสมํ่าเสมอกว่านี้]
3. เราใช้ conditionnel passé แทน futur antérieur ใน discours indirect เมื่อกริยาในประโยคแรกเป็นอดีต :
- Il dit que quand tu arriveras, elle sera déjà rentrée. [เขาบอกว่ากว่าเธอจะมาถึง หล่อนก็กลับบ้านแล้ว]
Il a dit que quand tu arriverais, elle serait déjà rentrée. [เขาได้บอก(ไปแล้ว)ว่ากว่าเธอจะมาถึง หล่อนก็กลับบ้านแล้ว]
- "Quand tu viendras me chercher, je me serai déjà habillée et maquillée." ["ตอนเธอจะมารับฉัน ฉันก็จะสวมเสื้อและแต่งหน้าเรียบร้อยแล้ว"]
Elle a dit à son ami que quand il viendrait la chercher, elle se serait déjà habillée et maquillée. [หล่อนบอกกับแฟนของหล่อนว่าตอนเขาจะมารับหล่อน หล่อนก็จะสวมเสื้อและแต่งหน้าเรียบร้อยแล้ว]

Le conditionnel présent

Le conditionnel présent
รูปแบบ (la forme) :
» เราสร้าง conditionnel présent ด้วยแกนของ futur รวมกับลงท้ายของ imparfait : ais, ais, ait, ions, iez, aient.

การใช้ (l'emploi) :
1. เพื่อแสดงความปรารถนา หรือ ความฝัน [คำกริยาที่มักใช้ได้แก่ : aimer, vouloir]
- J'aimerais être hôtesse de l'air. [ฉันอยากจะเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน]
- Je voudrais aller en France. [ฉันอยากไปฝรั่งเศส]
2. เพื่อแสดงการขอร้อง หรือ ถามแบบสุภาพ [คำกริยาที่มักใช้ได้แก่ : pouvoir, vouloir]
- Je voudrais un renseignement sur les horaires des trains en France. [ฉันอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับตารางเวลารถไฟในฝรั่งเศส]
- Est-ce que je pourrais parler à Madame Sallanche s'il vous plaît ? [ผมขอพูดกับคุณซัลลองช์หน่อยครับ]
- Pourriez-vous m'aider ? [คุณช่วยดิฉันหน่อยได้ไหมคะ]
3. เพื่อให้คำแนะนำ หรือ ข้อเสนอแนะ [คำกริยาที่มักใช้ได้แก่ : devoir, faire mieux de, falloir]
- Vous devriez donner plus de temps à vos études. [พวกเธอควรจะให้เวลากับการศึกษามากกว่านี้]
- Tu ferais mieux de commencer tout de suite sans attendre. [เธอควรจะเริ่มทันทีโดยไม่ต้ี้องรอจะดีกว่า]
- Il faudrait avoir les opinions des parents avant de se décider. [เราควรจะถามความเห็นของพ่อแม่ก่อนที่จะตัดสินใจ]
4. ใช้ในประโยคสมมุติที่มีโอกาสเป็นไปได้น้อย หรือเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน :
• Si + imparfait / conditionnel présent
- Si j'étais riche, je ferais le tour du monde. [ถ้าฉันรวยฉันจะไปเที่ยวรอบโลก]
- Que feriez-vous si vous gagniez le gros lot ? [คุณจะทำอะไรถ้าคุณถูกรางวัลใหญ่]
• เราใช้ conditionnel présent กับ " au cas où " [= ในกรณีที่ ...] เพื่อบอกการสมมุติ หรือ การคาดคะเน
- Prends du médicament avec toi au cas où tu serais malade. [เอายาติดตัวไปบ้างในกรณีที่เธออาจจะไม่สบาย]
- Au cas où vous auriez besoin d'aide, téléphonez-moi. [ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ โปรดโทรมาหาผม]
5. เพื่อบอกเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือ อาจเป็นไปได้
- On pourrait aller au cinéma ce soir ! [คํ่านี้เราอาจจะไปดูภาพยนต์ก็ได้นะ่]
- Le ciel est gris : il pourrait pleuvoir cette nuit. [ท้องฟ้าครึ้ม คืนนี้ฝนอาจจะตก]
6. เพื่อให้ข้อมูล ข่าวสารที่ยังไม่ยืนยัน (ยังไม่แน่นอน) [มักจะใช้ในหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือ โทรทัศน์]
- Le ministre de l'Éducation nationale supprimerait l'examen d'entrée à l'université. [รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาการจะยกเลิกการสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย]
- Le nouvel aéroport de Bangkok ouvrirait ses portes avant la fin 2005. [ท่าอากาศยานแห่งใหม่ของกรุงเทพฯคงจะเปิดบริการได้ก่อนสิ้นปี 2548]
- Le naufrage aux Philippines aurait fait 200 victimes.[เรืออัปปางในฟิลิปปินคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิต 200 คน]
7. เราใช้ conditionnel présent แทน futur และใช้ conditionnel passé แทน futur antérieur ในประโยค discours indirect เมื่อกริยาในประโยคแรกเป็นอดีต [passé composé, imparfait หรือ plus-que-parfait]
- Il dit qu'il viendra. [เขาบอกว่าเขาจะมา]
Il a dit qu'il viendrait. [เขาได้บอก(ไปแล้ว) ว่าเขาจะมา]
- Elle promet qu'elle m'écrira dès qu'elle sera arrivée. [หล่อนสัญญาว่าจะเขียนมาหาฉันเมื่อไปถึงแล้ว]
Elle avait promis qu'elle m'écrirait dès qu'elle serait arrivée. [หล่อนสัญญา(ไว้่ก่อนหน้าหน้านี้)ว่าจะเขียนมาหาฉันเมื่อไปถึงแล้ว]

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

L' imparfait

L' imparfait
การใช้ :
1. บรรยายเหตุการณ์หรือบอกสภาพที่ดำรงอยู่ช่วงหนึ่งในอดีต (la durée, la description, et la situation)
- Quand elle était jeune, elle était mince et belle. (ตอนหล่อนเป็นสาว หล่อนร่างบางและสวย)
- Avant il y avait beaucoup de poissons dans cette rivière. (เมื่อก่อนนี้มีปลามากในแม่นํ้าสายนี้)
- C' était un dimanche, il faisait beau, les gens se promenaient dans les rues ou bavardaient
à la terrasse de café. J' étais heureuse. (เป็นวันอาทิตย์หนึ่งที่อากาศสดใส ผู้คนเดินเล่นตามท้องถนน
หรือไม่ก็พูดคุยกันบนเทอเรสของร้านกาแฟ ฉันรู้สึกมีความสุข)
2. พูดถึงสิ่งที่กระทำเป็นประจำในอดีต หรือบรรยายเหตุการณ์ที่ซํ้าๆกันในอดีต (l' habitude et la répétition)
- Il prenait toujours un café après le déjeuner. (เขาดื่มกาแฟหลังอาหารกลางวันเป็นประจำ))
- Chaque fois qu' il me voyait, il me disait qu' il pensait à moi ! (ทุกครั้งที่เขาเห็นฉันเขาจะบอกว่าคิดถึงฉัน)
3. ใช้แทนรูป présent ของคำกริยาในประโยคตาม ในการนำคำพูดของคนอื่นไปเล่าต่อให้คนอื่นฟัง (discours indirect)
เมื่อคำกริยาในประโยคนำอยู่ในรูปอดีต (passé)
- Il dit qu' il veut voyager loin.
-> Il a dit qu' il voulait voyager loin.
- Il dit qu' il en a assez de son travail.
-> Il disait qu' il en avait assez de son travail.
4. ใช้คู่กับ passé composé เพื่อบอกว่า ขณะที่เหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่ อีกเหตุการณ์ก็เกิดแทรกขึ้นมา [เหตุการณ์ที่
กำลังดำเนินอยู่ในอดีตใช้ imparfait ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดแทรกขึ้นมาใช้ passé composé]
- Je dormais tranquillement quand, soudain, quelqu'un m' a appelé. (ฉันกำลังหลับสบายตอนที่มีคนเรียกฉัน)
5. บอกเล่าเหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดขึ้นในอดีต
- Encore un pas et je tombais ! (นี่อีกเพียงก้าวเดียวฉันก็คงจะล้มแล้ว)
- Ah j' oubliais de vous dire une chose, c' est qu' on saura le résultat plus tôt que prévu. (อ้า ! เกือบลืมบอก
อะไรเธอไปอย่างหนึ่ง คือเราจะรู้ผลการสอบเอนทรานซ์เร็วกว่ากำหนด)
6. [สำหรับเหตุการณ์ปัจจุบัน] ในประโยคเงื่อนไขหรือสมมุติ นำด้วย Si + verbe (ในรูป imparfait) คู่กับอีกประโยคหนึ่งที่
verbe อยู่ในรูป conditionnel présent เพื่อเป็นการสมมุติสิ่งที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงในปัจจุบัน หรือมีโอกาส
เป็นไปได้น้อยมาก [ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2]
- Si j' avais le temps, je viendrais te voir. (ถ้าฉันมีเวลาฉันจะมาหาเธอ) [แต่เป็นที่รู้กันว่าไม่มีเวลา]
- Si j' étais elle, je ferais plus attention. (ถ้าฉันเป็นหล่อนฉันจะใส่ใจกว่านี้) [แต่เป็นที่รู้กันว่าหล่อนไม่ค่อยใส่ใจ
และฉันก็ไม่ใช่หล่อนด้วย]
7. [สำหรับเหตุการณ์ในอนาคต] ในประโยคที่ขึ้นต้นด้วย Si + verbe ........... ? (ในรูป imparfait) เพื่อชักชวนหรือเสนอแนะ
- Si on allait au cinéma ce soir ? (คํ่านี้เราไปดูหนังกันไหม)
- Si nous faisions un pique-nique ce samedi ? (วันเสาร์นี้เราไปปิคนิคกันดีไหม)
8. ตามหลัง "comme si" เป็นเชิงเปรียบเทียบ หรือ ตั้งสมมุติฐาน มีความหมาย = "ราวกับว่า" [แต่ในความเป็นจริง ไม่ใช่]
- Il me parle comme s' il était mon patron. (เขาพูดกับฉันราวกับว่าเขาเป็นเจ้านายฉัน)
สำนวน "être en train de" ในรูป imparfait ตามด้วย infinitif ใช้เพื่อเน้นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอดีต
- Qu' est-ce que tu faisais quand je t' ai téléphoné ? (เธอกำลังทำอะไรอยู่ตอนที่ฉันโทรมาหาเธอ)
- J' étais en train de préparer le dîner. (ฉันกำลังเตรียมอาหารเย็นอยู่)
รูปแบบ : [การผันคำกริยาในรูป imparfait]
1. นำคำกริยาที่ต้องการมาผันกับประธานบุรุษที่ 1(Nous)ในรูป présent
2. ตัดลงท้าย "ons" ออก
3. เติมลงท้ายที่แกนของคำกริยาด้วย : _ais, _ais, _ait, _ions, _iez, _aient :
1er groupe (parler) : Nous parlons => parl_ =>
2e groupe (finir) : Nous finissons => finiss_ =>
3e groupe (prendre) : Nous prenons => pren_ =>
ยกเว้น verbe "être" ทีใช้แกน "ét_"
J' étais, Tu étais, Il / Elle était, Nous étions, Vous étiez, Ils / Elles étaient
Verbe ที่ลงท้ายด้วย "_ger" เช่น manger, voyager, changer, mélanger, songer ... [g + e + a]
Je mangeais, Tu mangeais, Il / Elle mangeait, Nous mangions, Vous mangiez, Ils / Elles mangeaient
Verbe ที่ลงท้ายด้วย "_cer" เช่น commencer, placer, déplacer, tracer ... [ç + a]
Je plaçais, Tu plaçais, Il / Elle plaçait, Nous placions, Vous placiez, Ils / Elles plaçaient

ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส

ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทยมีประวัติอันยาวนาน ทั้งสองได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเมื่อปีพ.ศ. 2545 ซึ่งทำให้สัมพันธภาพและมิตรภาพของทั้งสองเหนียวแน่นขึ้น

ช่วงศตวรรษที่ 17 ประเทศฝรั่งเศสและประเทศสยามได้เริ่มความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการครั้งแรก คณะทูตจากประเทศไทยได้เดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2227 และพ.ศ.2229 โดยได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 คณะตัวแทนจากฝรั่งเศสหลายคณะได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน คณะฯที่มีชื่อเสียงที่สุดเห็นจะได้แก่คณะของเชอร์วัลลิเยร์ เดอ โชมงต์ ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตของทั้งสองประเทศเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.2399 และได้มีการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ด้านการทูตระหว่างสองประเทศครบ 150 ปีเมื่อปีพ.ศ.2549

ในส่วนของการล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อปีพ.ศ.2436 วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (กรณีพิพาทระหว่างประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศส) ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้งในปีพ.ศ.2440 และพ.ศ.2450 สัมพันธภาพดังกล่าวดีขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศไทยร่วมมือทางการทหารกับฝรั่งเศส หลังสงครามสิ้นสุด ในปีพ.ศ.2461 ประเทศสยามได้ส่งทหารเข้าร่วมสวนสนามที่ถนนชองส์ เอลิเซส์ ประเทศฝรั่งเศส อีกด้วย

ในช่วงระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสได้กระชับความสัมพันธ์ทั้งด้านการทูตและการเมือง รวมถึงด้านการทหาร (รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระสหายร่วมชั้นกับนายพลเดอ โกลล์ของฝรั่งเศส) และด้านวัฒนธรรม นักศึกษาจากประเทศสยามเดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงปารีสเป็นจำนวนหลายคน รวมถึงท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาประเทศไทยยุคใหม่

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนกันยายนพ.ศ.2483 และพฤษภาคมพ.ศ.2484 กองทหารของประเทศทั้งสองได้เผชิญหน้ากันทั้งในดินแดนอินโดจีน อาณานิคมของฝรั่งเศส และในประเทศไทย ฝ่ายไทยได้ยึดเสียมเรียบและพระตระบอง ประเทศฝรั่งเศสแสดงความไม่พอใจ และปะทะกับกองทัพไทย อันเป็นเหตุให้เรือรบไทยจมลงที่เกาะช้าง สุดท้าย มีการลงนามสงบศึกที่กรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมพ.ศ.2484 อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยังไม่แน่นแฟ้นเท่าไหร่นัก ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2503 แล้วก็ตาม

ช่วงต้นปีพ.ศ. 2543 ความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสและไทยกลับกระชับเหนียวแน่นอีกครั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้เยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2546 ประเทศทั้งสองพร้อมใจที่จะเปิดศักราชใหม่ของความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและด้านวิทยาศาสตร์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรถือว่าประเทศฝรั่งเศสเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของประเทศไทยในยุโรป เช่นเดียวกับประธานาธิบดี ฌากส์ ชิรัค ที่เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเอเชียที่สำคัญเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีการลงนามในแผนปฏิบัติการร่วม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2547 โดยนายมิเชล บาร์นิเยร์และดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศทั้งสอง

การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายฌากส์ ชิรัค ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 ในฐานะราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะสมานความสัมพันธ์ฝรั่งเศสไทยให้แน่นแฟ้นขึ้นอีกครั้ง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเสนอให้มีการรับร่างสนธิสัญญาสมานฉันท์และความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (หรือ TAC) เพื่อกระตุ้นให้มีการหารือทางด้านการเมืองระหว่างประเทศทั้งสองมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมความร่วมมือด้านความปลอดภัยและการป้องกันประเทศ การช่วยเหลือประเทศที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศลาวและกัมพูชา ร่วมกัน ทั้งนี้ รวมถึงความร่วมมือด้านวัฒนธรรม การศึกษาระดับสูงและการวิจัย และการกระตุ้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ รัฐมนตรีกำกับดูแลด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศได้หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ณ กรุงปารีส

ในปีพ.ศ. 2548 การแลกเปลี่ยนทางด้านการค้าระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศสมีจำนวนถึง 3,100 ล้านยูโร (เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38 ภายในปีเดียว) ประเทศฝรั่งเศสส่งสินค้าออกมายังประเทศไทยเป็นอันดับที่ 15 ของจำนวนประเทศที่ฝรั่งเศสส่งสินค้าออกทั้งหมด (มูลค่า 1,600 ล้านยูโร) ในขณะที่ประเทศไทยส่งสินค้าออกไปยังประเทศฝรั่งเศสมากเป็นอันดับที่ 17 ของจำนวนประเทศที่ไทยส่งสินค้าออกทั้งหมด (มูลค่า 1,514 ยูโร) ปัจจุบัน บริษัทฝรั่งเศสในประเทศไทยมีจำนวนมากถึง 300 บริษัท

นอกจากนี้ ประเทศทั้งสองยังกระชับความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และวิชาการอีกด้วย ในส่วนของวัฒนธรรม ได้มีการจัดเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศสหรือลา แฟ็ต ณ กรุงเทพฯ ในขณะที่ฝ่ายไทยจัดงานเทศกาลวัฒนธรรมไทยซึ่งมีชื่อว่า Tout à fait Thaï ณ ประเทศฝรั่งเศส ในส่วนของวิชาการ ฝ่ายไทยและฝ่ายฝรั่งเศสยังมีโครงการร่วมด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัย การแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานการศึกษา ฯลฯ อีกด้วย

หลังจากเกิดการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ในประเทศไทย ประเทศฝรั่งเศสและสมาชิกสหภาพยุโรปมีความคิดเห็นว่าการนำประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและการยึดหลักรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ นอกจากนั้น ยังประสงค์ให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก การเคารพในสิทธิมนุษยชน และสิทธิเสรีภาพของประชาชน และส่งเสริมให้มีการจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีอันถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยให้เร็วที่สุด ประเทศฝรั่งเศสยังประสงค์ที่จะกระชับสัมพันธภาพกับประเทศไทย โดยยึดมั่นในสันติภาพ เสรีภาพ และหลักประชาธิปไตย

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

Influenzavirus A sous-type H1N1


Influenzavirus A sous-type H1N1

H1N1 désigne un ensemble de virus de la grippe appartenant à la même lignée de type A, sous-type H1N1. Ils sont caractérisés par un pouvoir pathogène élevé pour l'Homme.
Le nom H1N1 indique que le virus présente à sa surface la combinaison de deux molécules-
antigènes:
-l’
hémagglutinine de type 1 ;
-la
neuraminidase de type 1.

Histoire

Un virus présentant cette combinaison antigénique fut responsable de la pandémie de « grippe espagnole » de 1918-1919, qui tua environ trente millions de personnes. Le peu de connaissance sur la vie des virus ne permet pas de savoir comment ce virus est apparu ni pourquoi il disparut en 1919 pour ne réapparaitre par la suite que sous une forme beaucoup moins virulente.

De plus, le H1N1 fut aussi l'agent responsable de la pandémie de 1977-1978 à la mortalité relativement faible. On le retrouve dans d'autres épidémies locales. Deux cas humains auraient été détectés en 2005 en Afrique du Sud. [réf. souhaitée]
Courant mars 2009, le virus H1N1 fait sa réapparition au Mexique sous une forme génétique inédite.

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง

ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง



นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า มหรสพการแสดงเงาจำพวกหนังตะลุงนี้ เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษยชาติ เคยปรากฏแพร่หลายมาทั้งในแถบประเทศยุโรป และเอเชีย โดยอ้างว่า มีหลักฐานปรากฏอยู่ว่า เมื่อครั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชมีชัยชนะเหนืออียิปต์ ได้จัดให้มีการแสดงหนัง (หรือการละเล่นที่คล้ายกัน) เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะและประกาศเกียรติคุณของพระองค์ และเชื่อว่า มหรสพการแสดงเงานี้มีแพร่หลายในประเทศอียิปต์มาแต่ก่อนพุทธกาล ในประเทศอินเดีย พวกพราหมณ์แสดงหนังที่เรียกกันว่า ฉายานาฏกะ เรื่องมหากาพย์รามายณะ เพื่อบูชาเทพเจ้าและสดุดีวีรบุรุษ ส่วนในประเทศจีน มีการแสดงหนังสดุดีคุณธรรมความดีของสนมเอกแห่งจักรพรรดิ์ยวนตี่ (พ.ศ. 411 - 495) เมื่อพระนางวายชนม์
ในสมัยต่อมา การแสดงหนังได้แพร่หลายเข้าสู่ในเอเชียอาคเนย์ เขมร พม่า ชวา มาเลเซีย และประเทศไทย คาดกันว่า หนังใหญ่คงเกิดขึ้นก่อนหนังตะลุง และประเทศแถบนี้คงจะได้แบบมาจากอินเดีย เพราะยังมีอิทธิพลของพราหมณ์หลงเหลืออยู่มาก เรายังเคารพนับถือฤๅษี พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ยิ่งเรื่องรามเกียรติ์ ยิ่งถือว่าเป็นเรื่องขลังและศักดิ์สิทธิ์ หนังใหญ่จึงแสดงเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์ เริ่มแรกคงไม่มีจอ คนเชิดหนังใหญ่จึงแสดงท่าทางประกอบการเชิดไปด้วย
เชื่อกันว่าหนังใหญ่มีอยู่ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะมีหลักฐานอ้างอิงว่า มีนักปราชญ์ผู้หนึ่งเป็นชาวเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้เชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์และทางกวี สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเรียกตัวเข้ากรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมหาราชครูหรือพระโหราธิบดี และมีรับสั่งให้พระมหาราชครูฟื้นฟูการเล่นหนัง (หนังใหญ่) อันเป็นของเก่าแก่ขึ้นใหม่ ดังปรากฏในสมุทรโฆษคำฉันท์ว่า




ไหว้เทพยดาอา- รักษ์ทั่วทิศาดร
ขอสวัสดิขอพร ลุแก่ใจดั่งใจหวัง
ทนายผู้คอยความ เร่งตามไต้ส่องเบื้องหลัง
จงเรืองจำรัสทั้ง ทิศาภาคทุกพาย
จงแจ้งจำหลักภาพ อันยงยิ่งด้วยลวดลาย
ให้เห็นแก่ทั้งหลาย ทวยจะดูจงดูดี
หนังใหญ่ แต่เดิมเรียกว่า "หนัง" นิยมเล่นกันแพร่หลายในแถบภาคกลาง ส่วนหนังตะลุง แต่เดิมคนในท้องถิ่นภาคใต้ก็เรียกสั้นๆว่า "หนัง" เช่นกัน ดังคำกล่าวที่ได้ยินกันบ่อยว่า "ไปแลหนังโนรา" จึงสันนิษฐานว่า คำว่า "หนังตะลุง" คงจะเริ่มใช้เมื่อมีการนำหนังจากภาคใต้ไปแสดงให้เป็นที่รู้จักในภาคกลาง จึงได้เกิดคำ "หนังตะลุง" และ "หนังใหญ่" ขึ้นมาเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน หนังจากภาคใต้เข้าไปเล่นในกรุงเทพฯ ครั้งแรกสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาพัทลุง (เผือก) นำไปเล่นที่แถวนางเลิ้ง หนังที่เข้าไปครั้งนั้นเป็นนายหนังจากจังหวัดพัทลุง คนกรุงเทพฯจึงเรียก "หนังพัทลุง" ต่อมาเสียงเพี้ยนเป็น "หนังตะลุง"
เชื่อกันว่า หนังตะลุงเลียนแบบมาจากหนังใหญ่ โดยย่อรูปหนังให้เล็กลง ในยุคแรกๆคงแสดงเรื่องรามเกียรติ์เหมือนกัน แต่เปลี่ยนบทพากย์มาเป็นภาษาท้องถิ่น เปลี่ยนเครื่องดนตรีจาก พิณพาทย์ ตะโพน มาเป็น ทับ กลอง ฉิ่ง โหม่ง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีอยู่เดิมในภาคใต้ หลักฐานที่บอกว่าหนังตะลุงคงเลียนแบบมาจากหนังใหญ่ คือ แม้หนังตะลุงจะไม่ได้ใช้ พิณพาทย์ ตะโพน แต่ในโองการร่ายมนต์พระอิศวร (บทบูชาพระอิศวร) ก็ยังมีบทที่ว่า
อดุลโหชันชโนทั้งผอง พิณพาทย์ ตะโพน กลอง
ข้าจะเล่นให้ท่านทั้งหลายดู
ต่อมา หนังภาคใต้หรือหนังตะลุง รับอิทธิพลของหนังชวาเข้ามาผสมผสาน จึงทำให้เกิดวิวัฒนาการใน "รูปหนัง" ขึ้นมา รูปหนังใหญ่จะเป็นแผ่นเดียวกันทั้งตัว เคลื่อนไหวอวัยวะไม่ได้ แต่รูปหนังชวาเคลื่อนไหวมือและปากได้ ส่วนใหญ่รูปหนังจะเคลื่อนไหวมือได้เพียงข้างเดียว ยกเว้นรูปกาก หรือตัวตลก และรูปนางบางตัว ที่สามารถขยับมือได้ทั้งสองข้าง รูปหนังชวามีใบหน้าที่ผิดไปจากคนจริง และหนังตะลุงก็รับแนวคิดนี้มาปรับใช้กับรูปตัวตลก เช่น แกะรูปหนูนุ้ยให้หน้าคล้ายวัว เท่งหน้าคล้ายนกกระฮัง เป็นต้น
หนังตะลุงเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด นักวิชาการสันนิษฐานว่าคงเป็นช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะกลอนหนังตะลุงนิยมแต่งเป็นกลอนแปด ซึ่งในสมัยอยุธยากลอนแปดไม่ได้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ยิ่งในภาคใต้ วรรณกรรมพื้นบ้านรุ่นเก่าแก่ล้วนแต่งเป็นกาพย์ทั้งสิ้น กลอนแปดเพิ่งมาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางก็เมื่อหลังสุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณีออกเผยแพร่แล้วนี่เอง
หนังตะลุงเกิดขึ้นในภาคใต้ครั้งแรกที่จังหวัดใด ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประวัติแซกโซโฟน

อดอล์ฟ แซกซ์ (Adolphe Sax) มีชื่อจริงว่า Antoine-Joseph Sax แต่คนทั่วไปเรียกเขาว่า Adolphe Sax เป็นชาวเบลเยียมเกิดที่เมืองดินานท์ (Dinant) เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814 บิดาชื่อ ชาร์ล โจเซฟ แซกซ์ (Charles Foseph Sax) เป็นนักดนตรีเป่าฟลุตและคลาริเนต นอกจากนี้แล้วบิดาของเขายังมีโรงงานประดิษฐ์เครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองอยู่ที่เมืองดินานท์อีกด้วย ประมาณปี ค.ศ. 1815 บิดาเขาได้ย้ายโรงงานไปอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ อดอล์ฟ แซกซ์ ได้เรียนรู้และได้รับการถ่ายทอดวิชาต่างๆ จากบิดา ในขณะเดียวกัน อดอล์ฟ แซกซ์ ยังได้ศึกษาดนตรีที่สถาบันดนตรีแห่งกรุงบรัสเซลส์ โดยเรียนเป่าฟรุตและคลาริเนต
ในปี ค.ศ. 1830 อดอล์ฟ แซกซ์ ได้ประดิษฐ์ประดิษฐ์เครื่องดนตรีของเขาเป็นครั้งแรก โดยมีฟลุตและคลาริเนตซึ่งทำด้วยงาช้าง แสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ ในปี ค.ศ. 1838 เขาได้ลิขสิทธิ์ในการประดิษฐ์เบสคลาริเนต ระหว่างปี ค.ศ. 1840-1841 เขาได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและนำออกแสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ใน ค.ศ. 1841 แต่ขณะกรรมการไม่ได้มอบรางวัลให้แก่เขาโดยอ้างว่าอายุน้อย ในที่สุดเขาได้ย้ายไปตั้งร้านประดิษฐ์และซ้อมเครื่องดนตรีที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1842 ร้านของเขาได้รับความนิยมมากที่สุดในยุโรป โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองในสมัยนั้น
เขาเสียชีวิตในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 ที่กรุงปารีสเมื่ออายุ 60 ปี
ในระยะต้นของต้นคริสต์ศตรรษที่ 20 บริษัทเฮนรี่ เซลเมอร์แห่งปารีสได้ซื้อร้านของอดอล์ฟ แซกซ์ ต่อของเขามาดำเนินการแทน และได้ผลิตแซกโซโฟนยี่ห้อ เวลเมอร์ ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1920

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Le plus-que-parfait

Le plus-que-parfait
การใช้ :
1. พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่งในอดีต
- Elle était partie quand il est arrivé. (หล่อนไปแล้วตอนที่เขาไปถึง)
- J'ai prêté à mon ami le roman que j' avais lu. (ฉันให้เพื่อนยืมนิยายที่ฉันอ่านจบแล้ว)
- Quand j' avais déjeuné, je faisais la sieste. (ฉันนอนกลางวันเป็นประจำเมื่อกินอาหารกลางวันแล้ว)
2. [สำหรับเหตุการณ์ในอดีต] ในประโยคเงื่อนไขหรือสมมุติ นำด้วย Si + verbe (ในรูป plus-que-parfait) คู่กับ
อีกประโยคหนึ่งที่ verbe อยู่ในรูป conditionnel passé เพื่อเป็นการสมมุติสิ่งที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงในอดีต
แสดงความเสียใจ เสียดาย หรือต่อว่าตำหนิติเตียน [ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 3]
- Si j' avais su que la fête était si ennuyeuse, je ne serais pas venu(e). (ถ้าฉันรู้ว่างานฉลองมันน่าเบื่อเช่นนี้
ฉันก็คงจะไม่มาหรอก)
- Hier, si tu étais parti plus tôt, tu n' aurais pas manqué le train. (เมื่อวานนี้ ถ้าเธอออกไปเร็วกว่านี้
เธอก็คงจะไม่พลาดรถไฟ)
3. ใช้แทนรูป passé composé ของคำกริยาในประโยคตาม ในการนำคำพูดของคนอื่นไปเล่าต่อให้คนอื่นฟัง
(discours indirect) เมื่อคำกริยาในประโยคนำอยู่ในรูปอดีต (passé)
- Darika me dit qu' elle a terminé ses études à l' université.
-> Darika m' a dit qu' elle avait terminé ses études à l' université.
- Il me dit qu' il est venu me voir.
-> Il m' a dit qu' il était venu me voir.
รูปแบบ : เราใช้กริยาช่วย (auxiliaire) "avoir" หรือ "être" ในรูป imparfait + participe passé
"avoir" ใช้กับ verbe ส่วนใหญ่ :
J' avais bien mangé.
Tu avais fini ton travail ?
Il avait eu un accident.
Elle avait été malade.
Nous avions dîné dans un bon restaurant.
Vous aviez appris l' anglais ?
Ils avaient fait beaucoup de photos.
Elles avaient mis leur plus belle robe.
"être" :
1. ใช้กับ verbes ต่อไปนี้ :
aller[allé] - venir[venu] - revenir[revenu] - arriver[arrivé] - partir[parti] - passer[passé]
entrer[entré] - rentrer[rentré] - sortir[sorti] - tomber[tombé] - rester[resté] - retourner[retourné]
monter[monté] - descendre[descendu] - naître[né] - mourir[mort]
- J' étais allé(e) au cinéma hier soir.
- Tu étais allé(e) au cinéma hier soir ?
- Il était allé au cinéma hier soir.
- Elle était allée au cinéma hier soir.
- Nous étions allés(es) au cinéma hier soir.
- Vous étiez allé(e)(es)(s) au cinéma hier soir ?
- Ils étaient allés au cinéma hier soir.
- Elles étaient allées au cinéma hier soir.
2. Verbe pronominal ทุกตัว ใช้กับ verbe "être" เมื่อเป็น plus-que-parfait
Je m' étais lavé.
Tu t' étais amusé ?
Il s' était réveillé ?
Elle s' était promenée.
Nous nous étions disputés.
Vous vous étiez fâchés avec vos copains ?
Ils s' étaient intéressés à la peinture.
Elles s' étaient rencontrées dans une fête.

Valentlne's Day

The History of Valentine's DayEvery February, across the country, candy, flowers, and gifts are exchanged between loved ones, all in the name of St. Valentine. But who is this mysterious saint and why do we celebrate this holiday? The history of Valentine's Day -- and its patron saint -- is shrouded in mystery. But we do know that February has long been a month of romance. St. Valentine's Day, as we know it today, contains vestiges of both Christian and ancient Roman tradition. So, who was Saint Valentine and how did he become associated with this ancient rite? Today, the Catholic Church recognizes at least three different saints named Valentine or Valentinus, all of whom were martyred.
One legend contends that Valentine was a priest who served during the third century in Rome. When Emperor Claudius II decided that single men made better soldiers than those with wives and families, he outlawed marriage for young men -- his crop of potential soldiers. Valentine, realizing the injustice of the decree, defied Claudius and continued to perform marriages for young lovers in secret. When Valentine's actions were discovered, Claudius ordered that he be put to death.Other stories suggest that Valentine may have been killed for attempting to help Christians escape harsh Roman prisons where they were often beaten and tortured.
According to one legend, Valentine actually sent the first 'valentine' greeting himself. While in prison, it is believed that Valentine fell in love with a young girl -- who may have been his jailor's daughter -- who visited him during his confinement. Before his death, it is alleged that he wrote her a letter, which he signed 'From your Valentine,' an expression that is still in use today. Although the truth behind the Valentine legends is murky, the stories certainly emphasize his appeal as a sympathetic, heroic, and, most importantly, romantic figure. It's no surprise that by the Middle Ages, Valentine was one of the most popular saints in England and France.Image courtesy of Corbis/Lake County Museum.
While some believe that Valentine's Day is celebrated in the middle of February to commemorate the anniversary of Valentine's death or burial -- which probably occurred around 270 A.D -- others claim that the Christian church may have decided to celebrate Valentine's feast day in the middle of February in an effort to 'christianize' celebrations of the pagan Lupercalia festival. In ancient Rome, February was the official beginning of spring and was considered a time for purification. Houses were ritually cleansed by sweeping them out and then sprinkling salt and a type of wheat called spelt throughout their interiors. Lupercalia, which began at the ides of February, February 15, was a fertility festival dedicated to Faunus, the Roman god of agriculture, as well as to the Roman founders Romulus and Remus.
To begin the festival, members of the Luperci, an order of Roman priests, would gather at the sacred cave where the infants Romulus and Remus, the founders of Rome, were believed to have been cared for by a she-wolf or lupa. The priests would then sacrifice a goat, for fertility, and a dog, for purification.
The boys then sliced the goat's hide into strips, dipped them in the sacrificial blood and took to the streets, gently slapping both women and fields of crops with the goathide strips. Far from being fearful, Roman women welcomed being touched with the hides because it was believed the strips would make them more fertile in the coming year. Later in the day, according to legend, all the young women in the city would place their names in a big urn. The city's bachelors would then each choose a name out of the urn and become paired for the year with his chosen woman. These matches often ended in marriage. Pope Gelasius declared February 14 St. Valentine's Day around 498 A.D. The Roman 'lottery' system for romantic pairing was deemed un-Christian and outlawed. Later, during the Middle Ages, it was commonly believed in France and England that February 14 was the beginning of birds' mating season, which added to the idea that the middle of February -- Valentine's Day -- should be a day for romance. The oldest known valentine still in existence today was a poem written by Charles, Duke of Orleans to his wife while he was imprisoned in the Tower of London following his capture at the Battle of Agincourt. The greeting, which was written in 1415, is part of the manuscript collection of the British Library in London, England. Several years later, it is believed that King Henry V hired a writer named John Lydgate to compose a valentine note to Catherine of Valois.Image courtesy of Corbis
In Great Britain, Valentine's Day began to be popularly celebrated around the seventeenth century. By the middle of the eighteenth century, it was common for friends and lovers in all social classes to exchange small tokens of affection or handwritten notes. By the end of the century, printed cards began to replace written letters due to improvements in printing technology. Ready-made cards were an easy way for people to express their emotions in a time when direct expression of one's feelings was discouraged. Cheaper postage rates also contributed to an increase in the popularity of sending Valentine's Day greetings. Americans probably began exchanging hand-made valentines in the early 1700s. In the 1840s, Esther A. Howland began to sell the first mass-produced valentines in America.
According to the Greeting Card Association, an estimated one billion valentine cards are sent each year, making Valentine's Day the second largest card-sending holiday of the year. (An estimated 2.6 billion cards are sent for Christmas.)Approximately 85 percent of all valentines are purchased by women. In addition to the United States, Valentine's Day is celebrated in Canada, Mexico, the United Kingdom, France, and Australia.

วันวาเลนไทน์

เมื่อถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี จะมีหนุ่มสาวหรือคนบางกลุ่มนิยมส่งดอกกุหลาบสีแดง หรือบัตรรูปหัวใจให้แก่กันและกันซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเจตนารมณ ์ของความรักความเข้าใจต่อกัน วันวาเลนไทน์ ธรรมเนียมฝรั่งเขาส่งบัตรหรือของขวัญเล็กๆน้อยๆ ไปให้แก่คนที่เขารักโดยไม่บอกชื่อผู้ส่ง ซึ่งจะมาจากใครก็ได้
ตามประวัติกล่าวว่า วันนี้เป็นวันมรณภาพของนักบุญในศาสนาคริสต์ท่านหนึ่งชื่อว่า เซนต์วาเลนไทน์ ท่านผู้นี้ถูกพวกโรมันจับลงโทษถึงแก่ความตาย ในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช 269 ปี เนื่องจากท่านเป็นชาวโรมัน แต่ไปนับถือศาสนาคริสต์ และได้เข้าบวชอยู่ในศาสนานั้น ชื่อว่า วาเลนตินุส (VALENTINUS) ในสมัยนั้น ประชาชนชาวโรมันนับถือศาสนาของชาวโรมันอีกศาสนาหนึ่ง ซึ่งมีพระผู้เป็นเจ้าและเทวดาหลายองค์
มีโบสถ์วิหารสำหรับพิธีบูชามีสมณะและนางชีเช่นเดียวกับศาสนาคริสต์ในสมัยนี้ ในระยะเริ่มแรกที่ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในกรุงโรม ทางรัฐบาลกรุงโรมเห็นว่าเป็นลัทธิที่อันตราย ต่อสังคมชาวโรมันเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใดนับถือศาสนาคริสต์ก็จะถูกจับตัวไปลงโทษอย่างรุนแรงต่อสาธารณชน เช่น ให้สัตว์ป่ากัดตาย ตรึงไม้กางเขนให้ตายบ้าง หรือเผาทั้งเป็น เป็นต้น พวกที่นับถือศาสนาคริสต์ต้องคอยหลบซ่อนตัวไม่บอกให้ใครรู้ว่าตนเป็นคริสต์ศาสนิกชน และเมื่อถึงเวลาทำพิธีกรรมทางศาสนาของตน จะต้องแอบหนีลงไปทำพิธีในอุโมงค์ที่ใช้บรรจุศพ นอกกรุงโรม นักบุญวาเลนไทน์เป็นผู้กล้าหาญและคอยช่วยเหลือคนที่นับถือศาสนาคริสต์อยู่เสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถูกทางราชการของกรุงโรมจับไปขังคุกหรือเอาไปทรมาน ในที่สุดท่านเองก็ถูกทางราชการของกรุงโรมจับตัวได้และเอาไปขังคุกไว้

เมื่อนักบุญวาเลนไทน์อยู่ในคุก มีผู้คุมชื่อ อัสเตริอุส (ASTERIUS) เป็นผู้มีจิตใจเมตตาและคอยให้ความช่วยเหลือมิให้เดือดร้อน ผู้คุมมีลูกสาวอยู่คนหนึ่งตาบอดทั้ง 2 ข้าง ระหว่างที่นักบุญวาเลนไทน์ติดคุกอยู่นั้น ลูกสาวผู้คุมก็นำอาหารให้และช่วยติดต่อกับคนนอกคุก ที่นับถือศาสนาศริสต์ให้แก่นักบุญวาเลนไทน์ ขณะที่อยู่ในคุก นักบุญวาเลนไทน์ได้แสดงอภินิหาร ด้วยการทำให้ตาทั้งสองข้างของลูกสาวผู้คุมหายบอด กลับมาเป็นคนตาดี และได้อบรมเกลี้ยกล่อมผู้คุมทั้งลูกสาวให้นับถือศาสนาคริสต์ด้วย หลังจากนักบุญวาเลนไทน์ติดคุกมาเป็นเวลา 1 ปีพระเจ้าจักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ก็มีคำสั่งให้นักบุญเข้าเฝ้า
เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นนักบุญก็รู้สึกต้องพระทัยในกริยามารยาท ความสำรวมและความมีสง่าราศีของนักบุญ จึงตรัสเกลี้ยกล่อมให้นักบุญเลิกนับถือศาสนาคริตส์เสีย แล้วกลับมานับถือศาสนาของชาวโรมันต่อไปตามเดิม พระองค์จะพระราชทานอภัยโทษให้ แต่นักบุญวาเลนไทน์ก็ปฏิเสธ ไม่ยอมเลิกนับถือศาสนาคริสต์ มิหนำซ้ำกับเริ่มสั่งสอนอบรมพระเจ้าจักรพรรดิให้ทรงเห็นดีเห็นชอบ และทรงนับถือศาสนาคริสต์ พระเจ้าจักรพรรดิกริ้วมาก จึงมีรับสั่งให้นำตัวนักบุญวาเลนไทน์ไปตีด้วยไม้กระบอง แล้วเอาก้อนหินทุ่มจนถึงแก่ความตาย
ผู้ที่ตายเพื่อศาสนาและได้เกลี้ยกล่อมให้คนอื่นหันมายอมรับนับถือศาสนา เป็นผ้ที่ควรได้รับการยกย่อง และยังสามารถทำปาฏิหารย์รักษาให้คนตาบอดเป็นคนตาดีได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญหรือเซนต์ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ศริสต์ศาสนิกชนถือว่า เป็นวันของเซนต์วาเลนไทน์ เพราะว่าเป็นวันที่ท่านถึงแก่มรณภาพ ในสมัยโรมันเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันตรุษที่เรียกว่า ลูเปอร์คาเลีย(lupercalia) มีความสำคัญมากในทางเพศ ผู้ชายจะวิ่งแก้ผ้าหาคู่เพื่อฉลองตรุษโดยจับฉลากชื่อหญิงสาวแล้วเกี้ยวพาราสีจนได้เป็นภรรยา
ส่วนประเทศอังกฤษไม่ได้มาจากนักบุญ แต่บังเอิญมาตรงกันพอดี คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์เป็นวันเริ่มต้นปักษ์ที่ 2 แห่งเดือนที่สองของปี คนยุโรปจึงจับคู่กัน เอาเป็นวันส่งบัตรหรือของขวัญให้คนรักให้คนรัก นิยมในกลุ่มหนุ่มสาว

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552

Le Louvre


Informations géographiques
Coordonnées
48° 51′ 40″ N 2° 20′ 09″ E / 48.861073, 2.335784
Pays
France
Ville
Paris
Informations générales
Collections
Antiquités orientalesAntiquités égyptiennesAntiquités grecquesAntiquités étrusquesAntiquités romainesArts de l'IslamSculpturesObjets d'artPeinturesArts graphiques
Nombre d'œuvres
35 000 en exposition300 000 au total
Superficie
210 000 m²
Informations visiteurs
Date d'ouverture
1793
Visiteurs / an
6 894 000 (2004)7 553 000 (2005)8 348 000 (2006)[1]
Adresse
Palais RoyalMusée du Louvre75001 Paris
Site officiel
http://www.louvre.fr/


Le musée du Louvre est le plus grand musée parisien par sa surface (210 000 m² dont 60 600 consacrés aux expositions)[2] et l'un des plus importants du monde. Situé au cœur de la ville de Paris, entre la rive droite de la Seine et la rue de Rivoli, dans le Ier arrondissement, le bâtiment est un ancien palais royal, le Palais du Louvre. La statue équestre de Louis XIV constitue le point de départ de l'axe historique, mais le palais n'est pas aligné sur cet axe. C'est l'un des plus anciens musées et le troisième plus grand au monde en termes de superficie[réf. nécessaire]. Le Louvre possède une longue histoire de conservation artistique et historique de la France, depuis les rois capétiens jusqu'à nos jours.
Musée universaliste, le Louvre couvre une chronologie et une aire géographique larges, depuis l'Antiquité jusqu'à 1848, de l'Europe occidentale jusqu'à l'Iran, via la Grèce, l'Égypte et le Proche-Orient. A Paris, la période postérieure à 1848 pour les arts européens est prise en charge par le musée d'Orsay et le Centre Pompidou, alors que les arts asiatiques sont exposés à Guimet. Les arts d'Afrique, d'Amérique et d'Océanie prennent quant à eux place au musée du quai Branly, mais une centaine de chefs-d'oeuvre sont exposés au pavillon des Sessions. Les œuvres sont de nature variée : peintures, sculptures, dessins, céramiques, objets archéologiques et objets d'art... Parmi les pièces les plus célèbres du musée se trouvent le Code d'Hammurabi, la Vénus de Milo, La Joconde de Léonard de Vinci, et La Liberté guidant le peuple d'Eugène Delacroix. Le Louvre est le musée le plus visité au monde, avec 8,3 millions de visiteurs en 2006