วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

L' imparfait

L' imparfait
การใช้ :
1. บรรยายเหตุการณ์หรือบอกสภาพที่ดำรงอยู่ช่วงหนึ่งในอดีต (la durée, la description, et la situation)
- Quand elle était jeune, elle était mince et belle. (ตอนหล่อนเป็นสาว หล่อนร่างบางและสวย)
- Avant il y avait beaucoup de poissons dans cette rivière. (เมื่อก่อนนี้มีปลามากในแม่นํ้าสายนี้)
- C' était un dimanche, il faisait beau, les gens se promenaient dans les rues ou bavardaient
à la terrasse de café. J' étais heureuse. (เป็นวันอาทิตย์หนึ่งที่อากาศสดใส ผู้คนเดินเล่นตามท้องถนน
หรือไม่ก็พูดคุยกันบนเทอเรสของร้านกาแฟ ฉันรู้สึกมีความสุข)
2. พูดถึงสิ่งที่กระทำเป็นประจำในอดีต หรือบรรยายเหตุการณ์ที่ซํ้าๆกันในอดีต (l' habitude et la répétition)
- Il prenait toujours un café après le déjeuner. (เขาดื่มกาแฟหลังอาหารกลางวันเป็นประจำ))
- Chaque fois qu' il me voyait, il me disait qu' il pensait à moi ! (ทุกครั้งที่เขาเห็นฉันเขาจะบอกว่าคิดถึงฉัน)
3. ใช้แทนรูป présent ของคำกริยาในประโยคตาม ในการนำคำพูดของคนอื่นไปเล่าต่อให้คนอื่นฟัง (discours indirect)
เมื่อคำกริยาในประโยคนำอยู่ในรูปอดีต (passé)
- Il dit qu' il veut voyager loin.
-> Il a dit qu' il voulait voyager loin.
- Il dit qu' il en a assez de son travail.
-> Il disait qu' il en avait assez de son travail.
4. ใช้คู่กับ passé composé เพื่อบอกว่า ขณะที่เหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่ อีกเหตุการณ์ก็เกิดแทรกขึ้นมา [เหตุการณ์ที่
กำลังดำเนินอยู่ในอดีตใช้ imparfait ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดแทรกขึ้นมาใช้ passé composé]
- Je dormais tranquillement quand, soudain, quelqu'un m' a appelé. (ฉันกำลังหลับสบายตอนที่มีคนเรียกฉัน)
5. บอกเล่าเหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดขึ้นในอดีต
- Encore un pas et je tombais ! (นี่อีกเพียงก้าวเดียวฉันก็คงจะล้มแล้ว)
- Ah j' oubliais de vous dire une chose, c' est qu' on saura le résultat plus tôt que prévu. (อ้า ! เกือบลืมบอก
อะไรเธอไปอย่างหนึ่ง คือเราจะรู้ผลการสอบเอนทรานซ์เร็วกว่ากำหนด)
6. [สำหรับเหตุการณ์ปัจจุบัน] ในประโยคเงื่อนไขหรือสมมุติ นำด้วย Si + verbe (ในรูป imparfait) คู่กับอีกประโยคหนึ่งที่
verbe อยู่ในรูป conditionnel présent เพื่อเป็นการสมมุติสิ่งที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงในปัจจุบัน หรือมีโอกาส
เป็นไปได้น้อยมาก [ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2]
- Si j' avais le temps, je viendrais te voir. (ถ้าฉันมีเวลาฉันจะมาหาเธอ) [แต่เป็นที่รู้กันว่าไม่มีเวลา]
- Si j' étais elle, je ferais plus attention. (ถ้าฉันเป็นหล่อนฉันจะใส่ใจกว่านี้) [แต่เป็นที่รู้กันว่าหล่อนไม่ค่อยใส่ใจ
และฉันก็ไม่ใช่หล่อนด้วย]
7. [สำหรับเหตุการณ์ในอนาคต] ในประโยคที่ขึ้นต้นด้วย Si + verbe ........... ? (ในรูป imparfait) เพื่อชักชวนหรือเสนอแนะ
- Si on allait au cinéma ce soir ? (คํ่านี้เราไปดูหนังกันไหม)
- Si nous faisions un pique-nique ce samedi ? (วันเสาร์นี้เราไปปิคนิคกันดีไหม)
8. ตามหลัง "comme si" เป็นเชิงเปรียบเทียบ หรือ ตั้งสมมุติฐาน มีความหมาย = "ราวกับว่า" [แต่ในความเป็นจริง ไม่ใช่]
- Il me parle comme s' il était mon patron. (เขาพูดกับฉันราวกับว่าเขาเป็นเจ้านายฉัน)
สำนวน "être en train de" ในรูป imparfait ตามด้วย infinitif ใช้เพื่อเน้นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอดีต
- Qu' est-ce que tu faisais quand je t' ai téléphoné ? (เธอกำลังทำอะไรอยู่ตอนที่ฉันโทรมาหาเธอ)
- J' étais en train de préparer le dîner. (ฉันกำลังเตรียมอาหารเย็นอยู่)
รูปแบบ : [การผันคำกริยาในรูป imparfait]
1. นำคำกริยาที่ต้องการมาผันกับประธานบุรุษที่ 1(Nous)ในรูป présent
2. ตัดลงท้าย "ons" ออก
3. เติมลงท้ายที่แกนของคำกริยาด้วย : _ais, _ais, _ait, _ions, _iez, _aient :
1er groupe (parler) : Nous parlons => parl_ =>
2e groupe (finir) : Nous finissons => finiss_ =>
3e groupe (prendre) : Nous prenons => pren_ =>
ยกเว้น verbe "être" ทีใช้แกน "ét_"
J' étais, Tu étais, Il / Elle était, Nous étions, Vous étiez, Ils / Elles étaient
Verbe ที่ลงท้ายด้วย "_ger" เช่น manger, voyager, changer, mélanger, songer ... [g + e + a]
Je mangeais, Tu mangeais, Il / Elle mangeait, Nous mangions, Vous mangiez, Ils / Elles mangeaient
Verbe ที่ลงท้ายด้วย "_cer" เช่น commencer, placer, déplacer, tracer ... [ç + a]
Je plaçais, Tu plaçais, Il / Elle plaçait, Nous placions, Vous placiez, Ils / Elles plaçaient

ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส

ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทยมีประวัติอันยาวนาน ทั้งสองได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเมื่อปีพ.ศ. 2545 ซึ่งทำให้สัมพันธภาพและมิตรภาพของทั้งสองเหนียวแน่นขึ้น

ช่วงศตวรรษที่ 17 ประเทศฝรั่งเศสและประเทศสยามได้เริ่มความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการครั้งแรก คณะทูตจากประเทศไทยได้เดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2227 และพ.ศ.2229 โดยได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 คณะตัวแทนจากฝรั่งเศสหลายคณะได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน คณะฯที่มีชื่อเสียงที่สุดเห็นจะได้แก่คณะของเชอร์วัลลิเยร์ เดอ โชมงต์ ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตของทั้งสองประเทศเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.2399 และได้มีการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ด้านการทูตระหว่างสองประเทศครบ 150 ปีเมื่อปีพ.ศ.2549

ในส่วนของการล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อปีพ.ศ.2436 วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (กรณีพิพาทระหว่างประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศส) ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้งในปีพ.ศ.2440 และพ.ศ.2450 สัมพันธภาพดังกล่าวดีขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศไทยร่วมมือทางการทหารกับฝรั่งเศส หลังสงครามสิ้นสุด ในปีพ.ศ.2461 ประเทศสยามได้ส่งทหารเข้าร่วมสวนสนามที่ถนนชองส์ เอลิเซส์ ประเทศฝรั่งเศส อีกด้วย

ในช่วงระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสได้กระชับความสัมพันธ์ทั้งด้านการทูตและการเมือง รวมถึงด้านการทหาร (รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระสหายร่วมชั้นกับนายพลเดอ โกลล์ของฝรั่งเศส) และด้านวัฒนธรรม นักศึกษาจากประเทศสยามเดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงปารีสเป็นจำนวนหลายคน รวมถึงท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาประเทศไทยยุคใหม่

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนกันยายนพ.ศ.2483 และพฤษภาคมพ.ศ.2484 กองทหารของประเทศทั้งสองได้เผชิญหน้ากันทั้งในดินแดนอินโดจีน อาณานิคมของฝรั่งเศส และในประเทศไทย ฝ่ายไทยได้ยึดเสียมเรียบและพระตระบอง ประเทศฝรั่งเศสแสดงความไม่พอใจ และปะทะกับกองทัพไทย อันเป็นเหตุให้เรือรบไทยจมลงที่เกาะช้าง สุดท้าย มีการลงนามสงบศึกที่กรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมพ.ศ.2484 อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยังไม่แน่นแฟ้นเท่าไหร่นัก ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2503 แล้วก็ตาม

ช่วงต้นปีพ.ศ. 2543 ความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสและไทยกลับกระชับเหนียวแน่นอีกครั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้เยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2546 ประเทศทั้งสองพร้อมใจที่จะเปิดศักราชใหม่ของความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและด้านวิทยาศาสตร์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรถือว่าประเทศฝรั่งเศสเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของประเทศไทยในยุโรป เช่นเดียวกับประธานาธิบดี ฌากส์ ชิรัค ที่เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเอเชียที่สำคัญเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีการลงนามในแผนปฏิบัติการร่วม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2547 โดยนายมิเชล บาร์นิเยร์และดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศทั้งสอง

การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายฌากส์ ชิรัค ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 ในฐานะราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะสมานความสัมพันธ์ฝรั่งเศสไทยให้แน่นแฟ้นขึ้นอีกครั้ง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเสนอให้มีการรับร่างสนธิสัญญาสมานฉันท์และความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (หรือ TAC) เพื่อกระตุ้นให้มีการหารือทางด้านการเมืองระหว่างประเทศทั้งสองมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมความร่วมมือด้านความปลอดภัยและการป้องกันประเทศ การช่วยเหลือประเทศที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศลาวและกัมพูชา ร่วมกัน ทั้งนี้ รวมถึงความร่วมมือด้านวัฒนธรรม การศึกษาระดับสูงและการวิจัย และการกระตุ้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ รัฐมนตรีกำกับดูแลด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศได้หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ณ กรุงปารีส

ในปีพ.ศ. 2548 การแลกเปลี่ยนทางด้านการค้าระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศสมีจำนวนถึง 3,100 ล้านยูโร (เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38 ภายในปีเดียว) ประเทศฝรั่งเศสส่งสินค้าออกมายังประเทศไทยเป็นอันดับที่ 15 ของจำนวนประเทศที่ฝรั่งเศสส่งสินค้าออกทั้งหมด (มูลค่า 1,600 ล้านยูโร) ในขณะที่ประเทศไทยส่งสินค้าออกไปยังประเทศฝรั่งเศสมากเป็นอันดับที่ 17 ของจำนวนประเทศที่ไทยส่งสินค้าออกทั้งหมด (มูลค่า 1,514 ยูโร) ปัจจุบัน บริษัทฝรั่งเศสในประเทศไทยมีจำนวนมากถึง 300 บริษัท

นอกจากนี้ ประเทศทั้งสองยังกระชับความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และวิชาการอีกด้วย ในส่วนของวัฒนธรรม ได้มีการจัดเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศสหรือลา แฟ็ต ณ กรุงเทพฯ ในขณะที่ฝ่ายไทยจัดงานเทศกาลวัฒนธรรมไทยซึ่งมีชื่อว่า Tout à fait Thaï ณ ประเทศฝรั่งเศส ในส่วนของวิชาการ ฝ่ายไทยและฝ่ายฝรั่งเศสยังมีโครงการร่วมด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัย การแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานการศึกษา ฯลฯ อีกด้วย

หลังจากเกิดการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ในประเทศไทย ประเทศฝรั่งเศสและสมาชิกสหภาพยุโรปมีความคิดเห็นว่าการนำประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและการยึดหลักรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ นอกจากนั้น ยังประสงค์ให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก การเคารพในสิทธิมนุษยชน และสิทธิเสรีภาพของประชาชน และส่งเสริมให้มีการจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีอันถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยให้เร็วที่สุด ประเทศฝรั่งเศสยังประสงค์ที่จะกระชับสัมพันธภาพกับประเทศไทย โดยยึดมั่นในสันติภาพ เสรีภาพ และหลักประชาธิปไตย