วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Le conditionnel passé

Le conditionnel passé
รูปแบบ (la forme) :
» เราสร้าง conditionnel passé โดยการใช้กริยาช่วย " avoir " หรือ " être " ในรูป conditionnel présent ตามด้วย participe passé ของกริยาที่ต้องการ :
• Conditionnel passé = avoir หรือ être (conditionnel présent) + participe passé :
การใช้ (l'emploi) :
1. เพื่อแสดงความเสียดาย, เสียใจ หรือ การตำหนิติเตียน กับเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้ว :
- Elle aurait aimé apprendre l'allemand. [หล่อนอยากที่จะเรียภาษาเยอรมัน](เหตุการณ์ผ่านไปแล้ว และหล่อนก็ไม่ได้เรียน)
- J'aurais voulu être steward dans une compagnie aérienne. [ฉันอยากเป็นสจ๊วตสายการบิน]
- Tu aurais dû travailler davantage. [เธอน่าจะขยันกว่านี้]
2. ใช้ในประโยคสมมุติในอดีตที่ไม่เป็นจริง หรือ ตรงข้ามกับความเป็นจริงในอดีต :
• Si + plus-que-parfait / conditionnel passé :
- Si j'avais su (que la fête allait être si ennuyeuse), je ne serais pas venu(e). [ถ้าฉันรู้ว่างานฉลองจะน่าเบื่อเช่นนี้ ฉันคงจะไม่มาหรอก]
- Elle aurait pu continuer ses études à la faculté des lettres si elle avait travaillé plus dur et plus régulièrement. [หล่อนคงจะได้เรียนต่อในคณะอักษรศาสตร์แล้วถ้าหล่อนเรียนหนักและสมํ่าเสมอกว่านี้]
3. เราใช้ conditionnel passé แทน futur antérieur ใน discours indirect เมื่อกริยาในประโยคแรกเป็นอดีต :
- Il dit que quand tu arriveras, elle sera déjà rentrée. [เขาบอกว่ากว่าเธอจะมาถึง หล่อนก็กลับบ้านแล้ว]
Il a dit que quand tu arriverais, elle serait déjà rentrée. [เขาได้บอก(ไปแล้ว)ว่ากว่าเธอจะมาถึง หล่อนก็กลับบ้านแล้ว]
- "Quand tu viendras me chercher, je me serai déjà habillée et maquillée." ["ตอนเธอจะมารับฉัน ฉันก็จะสวมเสื้อและแต่งหน้าเรียบร้อยแล้ว"]
Elle a dit à son ami que quand il viendrait la chercher, elle se serait déjà habillée et maquillée. [หล่อนบอกกับแฟนของหล่อนว่าตอนเขาจะมารับหล่อน หล่อนก็จะสวมเสื้อและแต่งหน้าเรียบร้อยแล้ว]

Le conditionnel présent

Le conditionnel présent
รูปแบบ (la forme) :
» เราสร้าง conditionnel présent ด้วยแกนของ futur รวมกับลงท้ายของ imparfait : ais, ais, ait, ions, iez, aient.

การใช้ (l'emploi) :
1. เพื่อแสดงความปรารถนา หรือ ความฝัน [คำกริยาที่มักใช้ได้แก่ : aimer, vouloir]
- J'aimerais être hôtesse de l'air. [ฉันอยากจะเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน]
- Je voudrais aller en France. [ฉันอยากไปฝรั่งเศส]
2. เพื่อแสดงการขอร้อง หรือ ถามแบบสุภาพ [คำกริยาที่มักใช้ได้แก่ : pouvoir, vouloir]
- Je voudrais un renseignement sur les horaires des trains en France. [ฉันอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับตารางเวลารถไฟในฝรั่งเศส]
- Est-ce que je pourrais parler à Madame Sallanche s'il vous plaît ? [ผมขอพูดกับคุณซัลลองช์หน่อยครับ]
- Pourriez-vous m'aider ? [คุณช่วยดิฉันหน่อยได้ไหมคะ]
3. เพื่อให้คำแนะนำ หรือ ข้อเสนอแนะ [คำกริยาที่มักใช้ได้แก่ : devoir, faire mieux de, falloir]
- Vous devriez donner plus de temps à vos études. [พวกเธอควรจะให้เวลากับการศึกษามากกว่านี้]
- Tu ferais mieux de commencer tout de suite sans attendre. [เธอควรจะเริ่มทันทีโดยไม่ต้ี้องรอจะดีกว่า]
- Il faudrait avoir les opinions des parents avant de se décider. [เราควรจะถามความเห็นของพ่อแม่ก่อนที่จะตัดสินใจ]
4. ใช้ในประโยคสมมุติที่มีโอกาสเป็นไปได้น้อย หรือเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน :
• Si + imparfait / conditionnel présent
- Si j'étais riche, je ferais le tour du monde. [ถ้าฉันรวยฉันจะไปเที่ยวรอบโลก]
- Que feriez-vous si vous gagniez le gros lot ? [คุณจะทำอะไรถ้าคุณถูกรางวัลใหญ่]
• เราใช้ conditionnel présent กับ " au cas où " [= ในกรณีที่ ...] เพื่อบอกการสมมุติ หรือ การคาดคะเน
- Prends du médicament avec toi au cas où tu serais malade. [เอายาติดตัวไปบ้างในกรณีที่เธออาจจะไม่สบาย]
- Au cas où vous auriez besoin d'aide, téléphonez-moi. [ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ โปรดโทรมาหาผม]
5. เพื่อบอกเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือ อาจเป็นไปได้
- On pourrait aller au cinéma ce soir ! [คํ่านี้เราอาจจะไปดูภาพยนต์ก็ได้นะ่]
- Le ciel est gris : il pourrait pleuvoir cette nuit. [ท้องฟ้าครึ้ม คืนนี้ฝนอาจจะตก]
6. เพื่อให้ข้อมูล ข่าวสารที่ยังไม่ยืนยัน (ยังไม่แน่นอน) [มักจะใช้ในหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือ โทรทัศน์]
- Le ministre de l'Éducation nationale supprimerait l'examen d'entrée à l'université. [รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาการจะยกเลิกการสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย]
- Le nouvel aéroport de Bangkok ouvrirait ses portes avant la fin 2005. [ท่าอากาศยานแห่งใหม่ของกรุงเทพฯคงจะเปิดบริการได้ก่อนสิ้นปี 2548]
- Le naufrage aux Philippines aurait fait 200 victimes.[เรืออัปปางในฟิลิปปินคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิต 200 คน]
7. เราใช้ conditionnel présent แทน futur และใช้ conditionnel passé แทน futur antérieur ในประโยค discours indirect เมื่อกริยาในประโยคแรกเป็นอดีต [passé composé, imparfait หรือ plus-que-parfait]
- Il dit qu'il viendra. [เขาบอกว่าเขาจะมา]
Il a dit qu'il viendrait. [เขาได้บอก(ไปแล้ว) ว่าเขาจะมา]
- Elle promet qu'elle m'écrira dès qu'elle sera arrivée. [หล่อนสัญญาว่าจะเขียนมาหาฉันเมื่อไปถึงแล้ว]
Elle avait promis qu'elle m'écrirait dès qu'elle serait arrivée. [หล่อนสัญญา(ไว้่ก่อนหน้าหน้านี้)ว่าจะเขียนมาหาฉันเมื่อไปถึงแล้ว]