วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552

Le Louvre


Informations géographiques
Coordonnées
48° 51′ 40″ N 2° 20′ 09″ E / 48.861073, 2.335784
Pays
France
Ville
Paris
Informations générales
Collections
Antiquités orientalesAntiquités égyptiennesAntiquités grecquesAntiquités étrusquesAntiquités romainesArts de l'IslamSculpturesObjets d'artPeinturesArts graphiques
Nombre d'œuvres
35 000 en exposition300 000 au total
Superficie
210 000 m²
Informations visiteurs
Date d'ouverture
1793
Visiteurs / an
6 894 000 (2004)7 553 000 (2005)8 348 000 (2006)[1]
Adresse
Palais RoyalMusée du Louvre75001 Paris
Site officiel
http://www.louvre.fr/


Le musée du Louvre est le plus grand musée parisien par sa surface (210 000 m² dont 60 600 consacrés aux expositions)[2] et l'un des plus importants du monde. Situé au cœur de la ville de Paris, entre la rive droite de la Seine et la rue de Rivoli, dans le Ier arrondissement, le bâtiment est un ancien palais royal, le Palais du Louvre. La statue équestre de Louis XIV constitue le point de départ de l'axe historique, mais le palais n'est pas aligné sur cet axe. C'est l'un des plus anciens musées et le troisième plus grand au monde en termes de superficie[réf. nécessaire]. Le Louvre possède une longue histoire de conservation artistique et historique de la France, depuis les rois capétiens jusqu'à nos jours.
Musée universaliste, le Louvre couvre une chronologie et une aire géographique larges, depuis l'Antiquité jusqu'à 1848, de l'Europe occidentale jusqu'à l'Iran, via la Grèce, l'Égypte et le Proche-Orient. A Paris, la période postérieure à 1848 pour les arts européens est prise en charge par le musée d'Orsay et le Centre Pompidou, alors que les arts asiatiques sont exposés à Guimet. Les arts d'Afrique, d'Amérique et d'Océanie prennent quant à eux place au musée du quai Branly, mais une centaine de chefs-d'oeuvre sont exposés au pavillon des Sessions. Les œuvres sont de nature variée : peintures, sculptures, dessins, céramiques, objets archéologiques et objets d'art... Parmi les pièces les plus célèbres du musée se trouvent le Code d'Hammurabi, la Vénus de Milo, La Joconde de Léonard de Vinci, et La Liberté guidant le peuple d'Eugène Delacroix. Le Louvre est le musée le plus visité au monde, avec 8,3 millions de visiteurs en 2006

Cathédrale Notre-Dame de Reims



มหาวิหารแรงส์ หรือ มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแรงส์ (Cathédrale Notre-Dame de Reims) เป็นมหาวิหารของเมืองรีมส์ ประเทศฝรั่งเศส ที่เคยใช้ในพิธีสวมมงกุฏกษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศส มหาวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างบนมหาวิหารเดิมที่ถูกไหม้ไปเมื่อค.ศ. 1211 ที่พระเจ้าโคลวิสที่ 1 ผู้ถือกันว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกของฝรั่งเศสได้ทำพิธีรับศีลจุ่มจากนักบุญเรมี (St. Remi) บาทหลวงของเมืองรีมส์เมื่อค.ศ. 496


การก่อสร้าง

มหาวิหารสร้างเสร็จเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ยกเว้นด้านหน้าซึ่งมาเสร็จเอาอีกศตวรรษหนึ่งต่อมา แต่ยังเป็นสถาปัตยกรรมของคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทางเดินกลางขยายให้ยาวขึ้นเพื่อให้มีเนื้อที่เพียงพอกับผู้ที่เข้าร่วมพิธีสวมมงกุฎ หอสูง 81 เมตรย่อจากแบบเดิมที่ออกแบบให้สูง 120 เมตร หอด้านใต้มีระฆังสองใบๆ หนึ่งคาร์ดินาลแห่งลอเรนตั้งชื่อให้ว่า “ชาร์ลอต” เมื่อปีค.ศ. 1570 ซึ่งหนัก 10,000 กิโลกรัมหรือ 11 ตัน
เมื่อปี ค.ศ. 1875 รัฐสภาแห่งประเทศฝรั่งเศสอนุมัติเงินจำนวน 80,000 ปอนด์เพื่อปฏิสังขรณ์ด้านหน้ามหาวิหาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของมหาวิหาร และนับว่าเป็นงานฝีมือชิ้นเอกจากยุคกลาง เมื่อมหาวิหารโดนระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็ได้ทำลายบริเวณสำคัญๆ ของมหาวิหารไปมาก การบูรณะปฏิสังขรณ์เริ่มอีกครั้งเมื่อปี ค.ศ. 1919 และมาเสร็จเมื่อในปี ค.ศ. 1938 แต่การซ่อมก็ยังทำต่อเนื่องกันมาโดยมิได้หยุดยั้งจนทุกวันนี้


ภายนอก

ประตูทางเข้าด้านหน้ามีสามประตูแต่ละประตูเต็มไปด้วยรูปปั้นทั้งใหญ่และเล็กประดับ ประตูกลางอุทิศให้กับพระแม่มารี เหนือประตูแทนที่จะเป็นหน้าบันหินแกะสลักกลับเป็นหน้าต่างกุหลาบกรอบเป็นซุ้มโค้งที่ประกอบไปด้วยรูปปั้น เหนือระดับประตูเป็นระเบียงตรงกลาง และด้านล่างเหนือประตูจะมีหน้าต่างกุหลาบบานใหญ่อีกบานหนึ่ง ถัดขึ้นไปจากนั้นเป็นระเบียงรูปปั้นพระเจ้าแผ่นดิน (gallery of the kings) ซึ่งมีรูปปั้นพระเจ้าโคลวิสที่ 1 รับศึลจุ่มอยู่ตรงกลาง ด้านหน้าทางแขนกางเขนด้านเหนือและใต้ตกแต่งด้วยรูปปั้น ทางด้านเหนือเป็นบาทหลวงของรีมส์ และการตัดสินครั้งสุดท้าย (Last Judgment) และรูป “พระเยซูผู้งดงาม” (“le Beau Dieu”) ทางด้านใต้เป็นหน้าต่างกุหลาบสมัยใหม่เรื่องศาสดาและสาวก 12 องค์ เมื่อปี ค.ศ. 1481 ไฟไหม้หลังคาวัดและทำลายหอคอยสี่หอที่สูงกว่าหลังคาจนราบลงมาแค่ระดับหลังคา เหนือบริเวณสงฆ์ขึ้นไปเป็นหอระฆังไม้หุ้มด้วยตะกั่วสูง 18 เมตรสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 และซ่อมเมื่อปี ค.ศ. 1920

ภายใน

ทางเดินกลางของมหาวิหารยาว 138.75 เมตร กว้าง 30 เมตร สูง 38 เมตร ทางเดินกลางขนาบด้ายทางเดินข้าง แขนกางเขนก็เป็นทางเดินหลายช่อง บริเวณสงฆ์เป็นทางเดินคู่ หลังมุขมีทางเดินรอบ และคูหาสวดมนต์กระจายออกไปทางด้านหลัง ภายในมีหน้าต่างประดับกระจกสีที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 20 ประดับ นอกจากนั้นทางมหาวิหารยังมีพรมทอแขวนผนัง (tapestries) ชุดที่มีค่าที่สุดถวายให้แก่วัดโดยโรเบิร์ต เดอ เลนองคอรต์ (Robert de Lenoncourt) ผู้เป็นอัครบาทหลวงในสมัยพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 เป็นเรื่องพระแม่มารี ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่วังเทา (Palace of Tau) ซึ่งเดิมเป็นที่ประทับของบาทหลวง ทางด้านเหนือแขนกางเขนมีออร์แกนในตู้แบบกอธิควิจิตร (Flamboyant Gothic) นาฬิกาที่ตกแต่งด้วยกลไกที่สวยงาม และงานหน้าต่างประดับกระจกสีโดยศิลปินมีชื่อเสียงชาวรัสเซีย มาร์ค ชากาล (Marc Chagall) ที่ติดตั้งเมื่อ ค.ศ. 1974
มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแรงส์ได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 1991